12 เมษายน 2024
เป็นปกติที่สาว ๆ จะรู้สึกเป็นกังวลเมื่อประจำเดือนมาผิดปกติ และยิ่งเมื่อประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ก็ยิ่งสร้างความวิตกกังวลไปได้หลายอย่าง เพราะนั่นสามารถเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ นอกจากนั้นอาจขึ้นเกิดจากโรคต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้นควรใจเย็น ๆ และค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการขาดประจำเดือน เพื่อจะได้ทำการดูแล และรักษาได้อย่างถูกต้อง
ปกติแล้วประจำเดือนจะมาทุก 28 วัน แต่ระยะเวลาก็อาจจะสั้นลงหรือยาวขึ้นได้ในช่วง 21-35 วัน เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ระยะก่อนการตกไข่ยาวไม่เท่ากัน เช่น ความเครียด และสารอาหาร ที่สามารถส่งผลให้รอบเดือนมาไม่พร้อมกัน แต่ปกติแล้วประจำเดือนควรมาช้าที่สุดไม่เกิน 7 วันจากรอบเดือนปกติ และปกติแล้วประจำเดือนควรมาเป็นระยะเวลา 3-5 วัน นานที่สุดไม่เกิน 7 วัน
อาการประจำเดือนไม่มา 1 เดือน หรือนานกว่าปกติ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
นอกจากนี้ อาการประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ยังสามารถเป็นสัญญาณของโรค และภาวะผิดปกติของร่างกายต่าง ๆ เช่น
ดังนั้นเมื่อมีอาการประจำเดือนไม่มาครบ 1 เดือน แล้วเมื่อตรวจแล้วว่าไม่ได้ตั้งท้อง ควรได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
อาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ เพราะอาการประจำเดือนไม่มา 1 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งถ้าประจำเดือนไม่มาเพราะตั้งครรภ์ จะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ 2-3 วันหลังจากอาการรอบเดือนมาช้า โดยสามารถลองใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญได้
อาการประจำเดือนไม่มา 1 เดือนแต่มีตกขาว เกิดจากการหลั่งสารคัดหลั่งเพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกภายในช่องคลอดซึ่งไม่เป็นอันตราย แต่ในบางกรณีการมีตกขาวอาจเกิดจากการความผิดปกติของฮอร์โมน หรือเป็นสัญญาณของการท้องได้เช่นกัน
แนะนำให้ตรวจครรภ์ด้วยตัวเองก่อนในเช้าของวันที่ 8 แล้วจึงตรวจครรภ์ซ้ำอีกครั้งอีก 2 วันถัดมา และทำซ้ำจนกว่าประจำเดือนจะมา แต่หากประจำเดือนไม่มาและคลาดเคลื่อนไปนานกว่า 2 สัปดาห์ แนะนำให้เข้าพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และทำการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ที่สำคัญคือไม่ควรซื้อยาใด ๆ มารับประทานเอง เนื่องจากยังไม่รู้ถึงสาเหตุที่แน่ชัด และอาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดีได้
สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/Cxnm7Ud
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศหญิง