ไส้เลื่อน อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการไส้เลื่อนและวิธีป้องกัน

ไส้เลื่อน อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการไส้เลื่อนและวิธีป้องกัน

08 กรกฎาคม 2024

Share on
ไส้เลื่อน อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการไส้เลื่อนและวิธีป้องกัน1

ไส้เลื่อน อาการเป็นอย่างไร? โรคไส้เลื่อน อันตรายไหม? สำหรับคนที่ยกของหนัก หรือ ออกกำลังกายหักโหม อาจก่อให้เกิดโรคไส้เลื่อนได้

ซึ่งโรคไส้เลื่อน (Hernia) มักออกมาในรูปแบบของอาการปวดบริเวณช่วงล่างหรือบริเวณอัณฑะ ทั้งนี้ไส้เลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งทุกคน ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ส่วนใหญ่เพศชายจะมีเปอร์เซ็นต์ของการเกิดไส้เลื่อนมากกว่า 

ในบทความนี้ ขอพาไปทำความรู้จักอาการโรคไส้เลื่อน ว่าโรคไส้เลื่อน อันตรายไหม พร้อมบอกสาเหตุและวิธีป้องกันที่ถูกต้อง

ไส้เลื่อน อาการคืออะไร และเกิดจากอะไร

ไส้เลื่อน อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการไส้เลื่อนและวิธีป้องกัน2

ไส้เลื่อน อาการเกิดจากการยื่นของอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ลำไส้ ผ่านจุดอ่อนแอในกล้ามเนื้อ โดย 75 เปอร์เซ็นต์ ของไส้เลื่อนจะเกิดที่บริเวณขาหนีบ ซึ่งสามารถยื่นเข้าออกได้ 

แต่บางกรณีอาจทำให้ลำไส้เกิดอุดตันและขาดเลือด ซึ่งไส้เลื่อนนั้นมักเกิดในเพศชาย โดยมักพบก้อนนูนที่ขาหนีบหรือหัวหน่าว และบางครั้งลงไปในถุงอัณฑะด้วย ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดหน่วง ทั้งนี้ อาการไส้เลื่อนในเพศหญิงมักจะเกิดที่ขาหนีบเช่นกัน โดยกลุ่มผู้ที่มีโอกาสเป็นไส้เลื่อนมีสองกลุ่มหลัก ๆ คือ

  • ไส้เลื่อนในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ที่เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการที่รูเชื่อมจากช่องท้องออกมาด้านนอกไม่ปิดหลังคลอด 
  • ไส้เลื่อนในผู้ใหญ่พบได้หลายช่วงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป

ไส้เลื่อน อาการแต่ละแบบเป็นอย่างไร

ไส้เลื่อน อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการไส้เลื่อนและวิธีป้องกัน6

1. ไส้เลื่อนลงไข่ 

ไส้เลื่อนลงไข่ หรือที่เรารู้จักกันดี คือ ไส้เลื่อนขาหนีบ พบมากในผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป เริ่มต้นด้วยการมีก้อนที่ขาหนีบและอาการจุก ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับชีวิตประจำวัน

ซึ่งหากปล่อยไว้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและไหลลงอัณฑะ ทำให้ต้องดันกลับด้วยมือ ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ หลายคนใช้กางเกงในพิเศษช่วยพยุงไส้เลื่อน แต่นั่นเป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้น ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา 

2. ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ

พบได้น้อยและมักพบในผู้หญิง สาเหตุเกิดจากผนังช่อง Femoral Canal อ่อนแอแต่กำเนิด หรือ เกิดความผิดปกติภายหลัง ปัจจัยเสี่ยงคือความดันในช่องท้องเพิ่ม อาการ คือ มีก้อนใต้ขาหนีบ ปวดบริเวณต้นขา และอาจปวดที่ขาหนีบร่วมด้วย

3. ไส้เลื่อนหลังผ่าตัด

เกิดขึ้นกับผู้ที่เคยผ่าตัดภายในช่องท้อง โดยสามารถเกิดขึ้นในทุกเพศทุกวัย เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแอหรือหย่อนยาน ทำให้ลำไส้หรืออวัยวะอื่นดันตัวขึ้นมา สาเหตุอาจเกิดระหว่างที่แผลผ่าตัดยังไม่หายสนิท

4. ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ

มักเกิดขึ้นที่บริเวณสะดือ ส่วนใหญ่พบในทารกแรกเกิดและผู้หญิงตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้น

5. ไส้เลื่อนบริเวณอุ้งเชิงกราน

เป็นไส้เลื่อนอีกชนิดหนึ่งที่พบได้น้อยมากแต่มีความรุนแรงสูง เนื่องจากมักทำให้ผู้ป่วยมีภาวะลำไส้อุดตัน คือ ไส้เลื่อนสะโพก (Obturator Hernia) การวินิจฉัยจากการตรวจร่างกายทำได้ยาก 

6. ไส้เลื่อนบริเวณกระบังลม 

เกิดจากส่วนหนึ่งของกระเพาะอาหารเลื่อนขึ้นไปในช่องอกผ่านทางช่องกระบังลม

7. ไส้เลื่อนบริเวณช่องท้อง

    เป็นภาวะที่ลำไส้หรือเนื้อเยื่อภายในช่องท้องเลื่อนผ่านผนังช่องท้องที่อ่อนแอหรือมีช่องเปิด เกิดเป็นก้อนนูนออกมาที่บริเวณหน้าท้อง 

    ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

    ไส้เลื่อน อาการในแต่ละเพศที่ควรรู้

    • ไส้เลื่อน อาการผู้ชาย จะมีก้อนนูนที่ยื่นเข้ายื่นออกได้ พบในบริเวณขาหนีบหรือหัวหน่าว และลงไปในถุงอัณฑะ
    • สำหรับไส้เลื่อนในผู้หญิง อาการนั้นพบได้น้อยมักจะเกิดที่บริเวณขาหนีบ

    วิธีรักษาโรคไส้เลื่อน

    ไส้เลื่อน อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการไส้เลื่อนและวิธีป้องกัน4

    การรักษาไส้เลื่อนมักทำโดยการผ่าตัดเพื่อนำไส้เลื่อนกลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติ โดยเฉพาะในกรณีไส้เลื่อนติดค้างที่ควรได้รับการผ่าตัดเร่งด่วน แพทย์จะดันไส้เลื่อนกลับเข้าไปก่อนการผ่าตัดเพื่อปิดช่องทางไม่ให้เกิดไส้เลื่อนซ้ำอีก 

    ปัจจุบันสามารถทำการผ่าตัดแบบส่องกล้องได้ ซึ่งใช้เครื่องมือเฉพาะเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง วิธีนี้ให้ผลการรักษาดีเทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบเปิด แต่มีแผลขนาดเล็กกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่า เสียเลือดน้อย และลดระยะเวลาพักฟื้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด

    วิธีป้องกันโรคไส้เลื่อน มีอะไรบ้าง

    ไส้เลื่อน อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการไส้เลื่อนและวิธีป้องกัน5
    1. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    หากมีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์จะเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้องให้เพิ่มมากขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องลดน้ำหนักให้น้อยลง และรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    1. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

    หากจำเป็นต้องยกของหนัก ควรใช้ท่าทางที่ถูกต้อง โดยการงอเข่าและใช้กล้ามเนื้อขาแทนการใช้กล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง

    1. หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระอย่างรุนแรง

    รักษาการขับถ่ายให้เป็นปกติ โดยการกินอาหารที่มีเส้นใยสูง และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก

    1. เลิกสูบบุหรี่

    การสูบบุหรี่สามารถทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไส้เลื่อน

    1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรงได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงดันในช่องท้องสูง

    1. หลีกเลี่ยงการยืดหรือเบ่งท้องมากเกินไป

    หากมีอาการไอเรื้อรัง หรือ จาม ควรได้รับการรักษา เพื่อลดการเบ่งและการยืดท้องบ่อย ๆ

    1. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง

    ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เพื่อป้องกันอาการท้องผูกและลดแรงดันในช่องท้องขณะขับถ่าย

    สงสัยว่าไส้เลื่อน อาการไม่ปกติ ปรึกษา Talk to PEACH

    ปรึกษาเรื่องเพศแบบไม่ระบุตัวตน ได้ที่แอปฯ Talk to PEACH
    ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

    สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/FiPv8we
     

    อ้างอิง:

    ปัญหาเพศชาย

    สุขภาพเพศทางกาย