ก้อนเลือดประจำเดือน อันตรายไหม ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน

ก้อนเลือดประจำเดือน อันตรายไหม ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน

14 พฤษภาคม 2024

Share on
ก้อนเลือดประจำเดือน อันตรายไหม ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน1

อีกหนึ่งปัญหาของการมีประจำเดือนนั่นคือการมีก้อนเลือดประจำเดือน? รับประกันได้เลยว่าสาว ๆ หลายคนคงต้องเคยเจอก้อนเลือดประจำเดือนในช่วงระหว่างที่ประจำเดือนกำลังมาอยู่ แล้วก้อนเลือดประจำเดือน อันตรายไหม มีวิธีป้องกันอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ

ก้อนที่ออกมาจากประจำเดือนคืออะไร

ก้อนเลือดประจำเดือน อันตรายไหม ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน2

​​ก้อนที่ออกมาพร้อมกับประจำเดือนนั้น เรียกว่า “ลิ่มเลือดประจำเดือน” หรือศัพท์ทางภาษาอังกฤษ Menstrual Clot ซึ่งเป็นเลือดที่จับตัวแข็งเป็นก้อนขณะถูกขับออกมาจากมดลูก

ซึ่งลิ่มเลือดมีขนาดแตกต่างกันไป ตั้งแต่เล็กประมาณหัวไม้ขีดไปจนถึงใหญ่เท่ากำมือ ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดและวิธีการหลั่งออกมาของแต่ละคน ถือเป็นเรื่องปกติที่มีในรอบเดือน ไม่ได้เป็นอาการผิดปกติ แต่ถ้าลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ผิดปกติหรือมีกลิ่นเหม็น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษา


ประจำเดือนเป็นก้อนเลือดเกิดจากอะไร?


หากประจำเดือนเป็นลิ่ม ก้อน ใหญ่ หรือมามาก ทั้งนี้หากมีลิ่มเลือดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 ซม. อาจจะเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ หรือ ภาวะผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น

  • ภาวะเนื้องอกในมดลูก
  • ภาวะพังผืดในมดลูก หรือ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
  • ผู้ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรนไม่สมดุล
  • โรคมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งโพรงมดลูก

ลิ่มเลือดประจําเดือน อันตรายไหม

ก้อนเลือดประจำเดือน อันตรายไหม ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน3

อย่างที่กล่าวข้างต้นไปว่า ทุกคนสามารถมีลิ่มเลือดประจำเดือนได้ ซึ่งมีตั้งแต่ปริมาณน้อย จนถึงมาก แต่ทั้งนี้หากมามากผิดปกติ และทำให้ปวดท้อง หรือขยับตัวไม่ได้ อาจก่อให้เกิดอันตราย ดังนี้

  • ภาวะเสียเลือดมาก หากมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่และจำนวนมาก อาจทำให้เสียเลือดจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง เป็นลม หน้ามืด หรือหมดสติได้
  • การติดเชื้อ การที่ลิ่มเลือดที่ค้างอยู่ในมดลูกเป็นเวลานาน อาจเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและนำไปสู่การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ได้
  • สัญญาณของโรคร้ายแรง อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งมดลูก ภาวะก้อนเนื้องอกมดลูก หรือโรคเลือดแข็งตัวผิดปกติ

หากมีปริมาณมากเกินผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อค้นหาสาเหตุและป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

ประจำเดือนมาแบบไหน ถึงอันตราย

ก้อนเลือดประจำเดือน อันตรายไหม ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน4

นอกจากเราจะตรวจเช็กว่าลิ่มเลือดมาเยอะนั้นเป็นอันตรายแล้วไหมนั้น เรายังต้องสำรวจเช็กเรื่องรอบเดือนด้วยว่า หากมามากไป หรือมานานเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายได้ โดยมีวิธีการตรวจเช็กดังนี้

  1. ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่เกิน 2 เซนติเมตร ออกมากับประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณของภาวะมดลูกเป็นต้น
  2. ประจำเดือนมาเป็นเวลานานกว่า 7 วัน อาจเกิดจาก ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ หรือยาคุมกำเนิดบางชนิด
  3. ประจำเดือนมากับอาการปวดรุนแรงมาก และเรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณของ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
  4. ประจำเดือนมาก่อนกำหนดนานกว่า 20 วัน อาจมีสาเหตุจากภาวะฮอร์โมนผิดปกติ หรือได้รับสารพิษจากการปนเปื้อนสารเคมี
  5. ประจำเดือนมาหลายครั้งในหนึ่งเดือน นอกจากจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของรอบเดือนแล้ว ยังเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง อาทิเช่น มะเร็งมดลูก การตกขาวผิดปกติ และโรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีก้อนประจำเดือน และการป้องกันตนเอง

ก้อนเลือดประจำเดือน อันตรายไหม ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน5

เมื่อมีก้อนเลือดประจำเดือน หรือ ลิ่มเลือด มีวิธีดูแลตนเองและป้องกันไม่ให้มีลิ่มเลือดปริมาณมาก หรือลดอาการภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

  • ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและรักษาความสะอาด
  • แนะนำพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกแรงมากเกินไป หรือออกกำลังกายหนัก
  • ให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์, ผักใบเขียว เพื่อทดแทนการสูญเสียเลือด
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียจากการมีประจำเดือน
  • ประคบน้ำร้อนที่ท้องน้อย เพื่อคลายกล้ามเนื้อมดลูก
  • หากปวดท้องมากจนทนไม่ไหว ให้ รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น ยาระงับปวดกรดเฟลวิบิกหรือโพนสแตน การป้องกันในระยะยาว

แต่ถ้าพบว่าตนเองมีก้อนเลือดมากผิดปกติ จำนวนถี่ ควรตรวจสอบเพื่อตรวจหาสาเหตุ และดูแลอย่างถูกวิธี พร้อมกับปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ จะช่วยป้องกันภาวะเสียเลือดมากและแทรกซ้อนต่าง ๆ จากก้อนเลือดประจำเดือน

มีปัญหาประจำเดือนผิดปกติ ปรึกษา Talk to PEACH

Talk to PEACH Promo
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/mQG6Gmo

อ้างอิง

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศทางกาย

สุขภาพเพศหญิง