หูดข้าวสุก รักษายังไง ชวนดูสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา

หูดข้าวสุก รักษายังไง ชวนดูสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา

23 พฤษภาคม 2024

Share on
หูดข้าวสุก รักษายังไง ชวนดูสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา1

โรคหูดข้าวสุก เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางผิวหนังที่ยังคงพบได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แม้จะมีความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น แต่โรคนี้กลับยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง หรือจากการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกันที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส 

ในบทความนี้ Talk To PEACH อยากพาทุกคนมาทำความรู้จักหูดข้าวสุก รักษาอย่างไร มีวิธีป้องกันแบบไหน ติดตามที่บทความนี้กัน

โรคหูดข้าวสุก คืออะไร

โรคหูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสมอลลัสคุม คอนทาจิโอซุม  (Molluscum contagiosum)ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านทางผิวหนัง โรคนี้พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบมากในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

โรคหูดข้าวสุก เกิดจากอะไร

เชื้อไวรัสมอลลัสคุม คอนทาจิโอซุม (Molluscum contagiosum) เป็นสาเหตุหลักของโรคหูดข้าวสุก ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ดังนี้

  • สัมผัสกับผิวหนังบริเวณที่มีตุ่มหูดของผู้ติดเชื้อ
  • สัมผัสสิ่งของหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า เครื่องนอน
  • มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนมีตุ่มหูดบริเวณอวัยวะเพศ

ลักษณะของหูดข้าวสุก

หูดข้าวสุก รักษายังไง ชวนดูสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา2
  • เป็นตุ่มทรงโดม ขนาด 2-5 มิลลิเมตร มีรอยบุ๋มตรงกลาง
  • อาจมีสีขาว หรือสีเดียวกับผิวหนัง
  • มักไม่มีอาการเจ็บหรือคัน
  • ในผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำหรือมีโรคประจำตัว รอยโรคหูดข้าวสารอาจมีขนาดใหญ่ได้ถึง 15 มิลลิเมตร

โรคหูดข้าวสุก อาการเป็นอย่างไร

หูดข้าวสุก รักษายังไง ชวนดูสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา3

อาการของโรคหูดข้าวสุกมักจะเริ่มจากมีจุดสีแดงบนผิวหนัง หลังจากนั้นประมาณ 7 วัน จุดสีแดงจะกลายเป็นตุ่มนูนสีชมพูหรือสีขาว มีลักษณะคล้ายเม็ดสิว แต่ไม่มีการอักเสบหรือมีหนอง หากบีบตุ่มออกมาจะพบว่ามีสารสีขาวข้นคล้ายเม็ดข้าวสุกอยู่ภายใน ตุ่มเหล่านี้ไม่คันหรือเจ็บปวด และสามารถเกิดได้ที่ใดก็ได้บนร่างกาย แต่มักพบที่ใบหน้า คอ หน้าอก แขนขา และบริเวณรักแร้

ระยะเวลาการติดเชื้อ โดยปกติหูดข้าวสุกจะหายไปเองภายใน 6-12 เดือน แต่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หูดอาจไม่หายเป็นเวลานาน และอาจแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ได้

ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

หูดข้าวสุกอันตรายไหม?

หูดข้าวสุก ถือว่าเป็นโรคที่ไม่ได้อันตรายมาก แต่อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคหูดข้าวสุกอาจมีอาการรุนแรง และระยะเวลาในการติดเชื้อนานขึ้น ดังนั้นก็ควรช่วยกันระวังและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคนี้

โรคหูดข้าวสุก ป้องกันได้อย่างไร

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสตุ่มหูดของผู้ติดเชื้อ
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า เครื่องนอน
  • หากมีตุ่มหูดบริเวณอวัยวะเพศ ควรงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าตุ่มจะหายสนิท
  • เด็กที่มีตุ่มหูด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสัมผัสร่างกายใกล้ชิด ปิดบริเวณที่มีตุ่มด้วยเสื้อผ้าหรือพลาสเตอร์

หูดข้าวสุก รักษาอย่างไร

ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โรคหูดข้าวสุกมักจะหายเองได้ โดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากต้องการกำจัดตุ่มด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ความรำคาญจากตุ่ม หรือป้องกันการแพร่กระจาย สามารถรักษาโดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  1. การทำลายตุ่มด้วยความเย็น (Cryotherapy) โดยใช้น้ำแข็งแช่แข็งบริเวณที่มีตุ่ม
  2. การขูดตุ่มออก (Curettage) ด้วยอุปกรณ์ขูดตุ่ม
  3. การใช้ยาทาเคมีภัณฑ์ที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น ยาทาสารกรดซาลิไซลิก เป็นต้น

การเลือกใช้วิธีรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยจะพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น อายุของผู้ป่วย บริเวณและจำนวนตุ่มหูด เป็นต้น ผลข้างเคียงจากการรักษาอาจมีได้ เช่น เจ็บปวด ผิวสีผิดปกติ หรือเกิดรอยแผลเป็น

ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับการรักษาเสมอ และหากเป็นตุ่มหูดบริเวณอวัยวะเพศ ควรได้รับการรักษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอน การดูแลรักษาตัวเองด้วยความสะอาด การรักษาพยาบาล และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

หูดข้าวสุก รักษาได้ คุยกับ Talk to PEACH ได้เลย

Talk to PEACH Promo
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/umlVIls

สุขภาพทั่วไป

สุขภาพเพศทางกาย

โรคติดต่อ