ช่องคลอดหลวมและภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน รักษาได้ พร้อมบอกวิธีแก้ไข

ช่องคลอดหลวมและภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน รักษาได้ พร้อมบอกวิธีแก้ไข

23 พฤศจิกายน 2023

Share on
ช่องคลอดหลวมและภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน รักษาได้ พร้อมบอกวิธีแก้ไข1

เมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงวัยกลางคนหรืออายุ 30 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านการมีบุตรมาแล้ว ปัญหาสุขภาพทางเพศอย่างหนึ่งที่มักพบได้บ่อยและอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ นั่นคือ “ช่องคลอดหลวม” และ “ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน” 

บทความนี้จะมาทำความรู้จักว่าช่องคลอดหลวมนี้เกิดจากอะไร แตกต่างจากภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนอย่างไร และจะมีวิธีแก้ไขหรือวิธีรักษาอย่างไรได้บ้าง

ช่องคลอดหลวมคืออะไร

ช่องคลอดหลวมและภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน รักษาได้ พร้อมบอกวิธีแก้ไข2

ความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งที่ถูกเชื่อกันมายาวนานเกี่ยวกับสาเหตุอาการช่องคลอดหลวม นั่นคือ การที่ผู้หญิงผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาเยอะ หรือผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีอวัยวะเพศชายขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดอาการช่องคลอดหลวม ซึ่งแท้จริงแล้ว ภาวะช่องคลอดหลวมหรือช่องคลอดไม่กระชับ เป็นอาการของโครงสร้างภายในช่องคลอดเกิดการเสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย เมื่อกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดอ่อนแอหรือเสื่อมสภาพลง 

โดยเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุเพิ่มมากขึ้น การคลอดบุตร น้ำหนักตัวเยอะ กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่ออ่อนแอโดยกำเนิด โรคประจำตัวบางโรค การออกแรงบ่อย ๆ หรือยกของหนักบ่อย ๆ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ช่องคลอดเกิดภาวะหย่อนคล้อยไม่กระชับตามมาได้นั่นเอง

ลักษณะอาการภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนคืออะไร

ช่องคลอดหลวมและภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน รักษาได้ พร้อมบอกวิธีแก้ไข3

ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนหมายถึงลักษณะผนังช่องคลอด มดลูก หรือปากมดลูกเคลื่อนต่ำลงในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา เช่น กระเพาะปัสสาวะหย่อนลงมาเบียดช่องคลอด (Cystocele) หรือลำไส้ใหญ่เคลื่อนกดเบียดยอดของช่องคลอด (Rectocele) เป็นต้น

ระยะเริ่มต้นมักจะไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ หรือมีอาการอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะผิดปกติ ท้องผูก ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย ช่องคลอดหลวม ช่องคลอดแห้ง มีก้อนหรือบางส่วนของช่องคลอดยื่นออกมาจากช่องคลอด

ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

ความแตกต่างระหว่างช่องคลอดหลวมกับภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

เนื่องจากช่องคลอดเป็นส่วนหนึ่งของอุ้งเชิงกราน ดังนั้น ช่องคลอดหลวมจึงเป็นอาการเริ่มต้นของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน โดยเราจะพิจารณาจากมดลูกว่าเคลื่อนตัวลงมาต่ำเท่าไรจากความยาวของช่องคลอดทั้งหมด 

อีกทั้งยังเป็นอาการที่มีความรุนแรงกว่าช่องคลอดหลวมด้วย เพราะมีความสัมพันธ์กับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานนั่นเอง ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ส่วนตรง มดลูก และช่องคลอด ทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม ท้องผูก หรือมีก้อนยื่นออกมาจากช่องคลอด

วิธีแก้ไขช่องคลอดหลวมและวิธีรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

ช่องคลอดหลวมและภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน รักษาได้ พร้อมบอกวิธีแก้ไข4

การแก้ไขหรือการรักษาอาการช่องคลอดหลวมกับภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนจะมีความคล้ายกัน หากพบว่ามีอาการช่องคลอดหลวมก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ รีบแก้ไขโดยเร็วก่อนที่จะนำไปสู่ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนในที่สุด

  1. วิธีแก้ไขช่องคลอดหลวม
  • ลดน้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ควรหาวิธีลดน้ำหนักเพื่อให้อุ้งเชิงกรานรับน้ำหนักตัวน้อยลง ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการช่องคลอดหลวมหรืออาการมดลูกหย่อนให้ดีขึ้นได้ 

โดยวิธีตรวจสอบว่ามีนำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ สามารถใช้การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตามสูตรการคำนวณ ดังนี้

ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตรยกกำลัง 2) 

  • ฝึกขมิบ เป็นวิธีบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่สามารถปฏิบัติได้ทุกวันเหมือนการออกกำลังกายตามปกติ ช่วยให้ช่องคลอดแข็งแรง ฟิต กระชับ โดยฝึกขมิบอย่างถูกวิธีค้างไว้ 10 วินาที นับเป็น 1 ครั้ง ทำอย่างน้อยวันละ 100 ครั้ง
  • เลเซอร์กระชับช่องคลอด เป็นวิธีแก้ปัญหาช่องคลอดหลวมโดยใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ใช้เวลาแต่ละครั้งสั้น ๆ เพียง 30 – 45 นาทีเท่านั้น
  • การผ่าตัดรีแพร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดไม่กระชับจากการคลอดยาก ช่องคลอดฉีกขาดจนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสียหายอย่างรุนแรง เพราะคุณแม่ตัวเล็กแต่บุตรตัวใหญ่ ซึ่งการใช้วิธีนี้จะอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เพื่อพิจารณาวิธีรักษาที่เหมาะสม
  1. วิธีรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน
  • ดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดแรงดันในช่องท้อง เช่น ไม่ยกของหนักหรือออกแรงมาก ๆ ดูแลระบบขับถ่ายให้ทำงานเป็นปกติ หมั่นบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยฝึกการขมิบอย่างถูกวิธีให้ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน
  • เลเซอร์กระชับช่องคลอด ทางเลือกใหม่ของการรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนและช่องคลอดหลวมที่ได้ผลดี ช่วยเสริมความแข็งแรงโดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องพักฟื้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาอุ้งเชิงกรานหย่อนระยะแรก ๆ ที่ไม่รุนแรง
  • การผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาเลือกการผ่าตัดที่เหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับปัญหาอุ้งเชิงกรานหย่อนว่าไปในทิศทางใด และมีผลกระทบต่อระบบขับถ่ายระบบใด

เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นต้องอย่านิ่งนอนใจกับอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ของร่างกาย ตัวอย่างเช่นเวลาไอจามแล้วมีปัสสาวะเล็ด รู้สึกปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย ช่องคลอดหลวม ช่องคลอดแห้ง เพราะอาการเหล่านี้อาจก่อให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนจนส่งผลเสียต่อร่างกายและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

อย่าปล่อยไว้ หากสงสัยว่ากำลังมีปัญหาช่องคลอดหลวม ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ปรึกษา Talk to PEACH ได้เลย

Talk to PEACH Promo
ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

หากมีปัญหาสุขภาพเพศ สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/AOpBx 

อ้างอิง:

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศทางกาย