30 พฤษภาคม 2023
อาการหน้ามืดวิงเวียนคล้ายจะเป็นลม หรืออยากทานของเปรี้ยวจี๊ดจ๊าด เรามักจะคิดว่าเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์หรือที่เรียกว่าอาการคนท้อง อาการแพ้ท้อง
เมื่อเกิดอาการดังกล่าว หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน สาว ๆ หลายคนจึงมีความสงสัยขึ้นมาทันทีว่าเรากำลังท้องไหมนะ สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมตั้งครรภ์อาจเกิดความวิตกกังวลใจ แต่สำหรับสาว ๆ ที่พร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่มือใหม่ก็อาจจะได้เตรียมเฮ
แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นมาจากอาการคนท้องหรือเป็นอาการของโรคทางกายชนิดอื่น เพื่อความชัวร์ วันนี้เราจะมาชวนสาว ๆ สังเกตอาการของคนท้อง พร้อมบอกวิธีตรวจครรภ์ที่ถูกต้อง
ในช่วง 1 – 12 สัปดาห์แรกนั้น คุณแม่บางคนอาจมีสัญญาณความเปลี่ยนแปลงของร่างกายซึ่งปกติจะยังไม่เห็นชัดเจนหรือบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย ทำให้บางคนอาจ ‘ท้องไม่รู้ตัว’ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อนซึ่งอาการของคนท้องไม่รู้ตัวมักเกิดจากการที่คิดว่าอาการต่าง ๆที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เหนื่อยล้า เพราะเครียดจากการทำงาน เป็นต้น
ถือเป็นสัญญาณแรก ๆ ที่จะเกิดขึ้นสำหรับคุณแม่มือใหม่ เนื่องจากเมื่อเกิดการปฏิสนธิร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมน Human Chorionic Gonagotropin (HCG) ทำให้ไม่มีประจำเดือนเพราะร่างกายหยุดการตกไข่ไปชั่วคราวในระหว่างการตั้งครรภ์
ในช่วงสัปดาห์แรกจะมีความเหนื่อยล้าร่างกายมากเป็นพิเศษ เป็นผลมาจากการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกาย เนื่องจากอวัยวะหลายส่วนของร่างกาย เช่น ไต หัวใจ และปอด จะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อบำรุงทารกในครรภ์ ทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียแม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมหนัก ๆ ในชีวิตประจำวันแต่เป็นเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนรีแลกซิน (Relaxin) ที่ผลิตจากรังไข่ปลดปล่อยออกมาช่วงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังช่วงล่างได้
ถือเป็นหนึ่งในอาการคนท้อง 1 เดือน บางคนอาจเกิดขึ้นใน 2-3 เดือนหรือช่วงเดือนท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ อาจเป็นเพราะคุณแม่จะมีความไวต่อกลิ่นมากขึ้นจนรู้สึกคลื่นไส้ได้ง่าย แต่บางท่านก็อาจจะไม่มีอาการคลื่นไส้เลย
ช่วง 6 – 12 วันหลังการปฏิสนธิ อาจมีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดลักษณะคล้ายกับสีของประจำเดือนแต่สีจางกว่าออกเป็นสีแดงอ่อน แต่จะหายไปเองในเวลา 1 – 2 วันนอกจากนี้ยังมีตกขาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายที่สูงขึ้นกว่าปกติ
เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ มดลูกในอุ้งเชิงกรานจะขยายตัวไปเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง รวมถึงเกิดจากการขยายตัวของมดลูกทำให้ไปกดทับลำไส้ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบอาหารทำให้ท้องผูกอาหารไม่ย่อย
เลือดไปเลี้ยงบริเวณเต้านมมากขึ้นจนทำให้มีอาการบวมทำให้เต้านมและหัวนมมีการเปลี่ยนแปลงอาจรู้สึกคัดตึงคล้าย ๆ ช่วงก่อนที่จะมีประจำเดือน
เมื่อตั้งครรภ์ ปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในเลือดจะเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ของคุณแม่ได้ทำให้หงุดหงิดง่าย โมโหได้ง่าย หรืออ่อนไหวกว่าปกติ
นอกจากนี้ ยังมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้และควรระวังระหว่างตั้งครรภ์ และควรได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นต้น
เราสามารถตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง ด้วยการซื้อเครื่องมือตรวจการตั้งครรภ์จากร้านขายยา หรือร้านค้าที่จัดจำหน่าย ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจหาฮอร์โมน Human Chorionic Gonagotropin (HCG) ซึ่งมีความแม่นยำของการตรวจวิธีนี้จะมีมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ โดยมี 3 รูปแบบ
ในการอ่านค่านั้น สามาถอ่านค่าจากหน้าแสดงผลจะมีตัวอักษร 2 ตัวคือ C (Control Line) และ T (Test Line) ปกติแล้วการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองไม่ควรทิ้งไว้เกิน5 นาทีเพราะอาจไม่มีขีดใดแสดงให้เห็นเลย ซึ่งสามารถอ่านค่าได้ดังนี้
การตั้งครรภ์ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับชีวิต สาว ๆ หลายท่านจึงอาจมีข้อสงสัยหรือได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหรือจิตใจ โดยมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล เราพร้อมพูดคุยและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์ ด้วยการปรึกษาเรื่องสุขภาพเพศกับนักเพศวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศจาก Talk to PEACH
สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: http://bit.ly/417az7i
อ้างอิง:
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศทางกาย