โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง? ชวนสังเกตอาการและวิธีป้องกัน

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง? ชวนสังเกตอาการและวิธีป้องกัน

31 พฤษภาคม 2023

Share on

การมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นเรื่องปกติ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด แต่เราต้องรู้จักกับวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากคนรักหรือคู่นอนได้ 

วันนี้ เราจะพาไปรู้จักกับ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ว่ามีโรคไหนที่ต้องระมัดระวังบ้าง?

รวมถึงวิธีป้องกันการเป็นโรคติดต่อด้วย เพื่อที่เราจะได้มี Safe Sex หรือมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หมดกังวลจากการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยไม่รู้ตัวได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรค STDs (Sexual-Transmitted diseases) เป็นโรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อหรือเป็นโรคนี้อยู่แล้ว โดยสามารถติดได้จากการร่วมเพศทางอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก 

แต่เดิม โรคนี้เป็นโรคที่มีแพร่ระบาดในอดีตอย่างมาก เนื่องจากสมัยก่อนเทคโนโลยีและระบบสาธารณสุขยังไม่มีความพร้อมในการรับมือ จึงทำให้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก หรือรู้จักในชื่อ “กามโรค” นั่นเอง  

สำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในปัจจุบัน มีหลากหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี (HPV)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง?

  • โรคซิฟิลิส (Syphilis)
  • โรคหนองในแท้ (Gonorrhoea)
  • โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis)
  • โรคเริม (Herpes)
  • เชื้อไวรัส HPV
  • เชื้อไวรัส HIV 
  • โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma acuminatum)
  • โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis หรือเรียกสั้นๆ ว่า Trich) 
  • โรคแผลริมอ่อน (Chancroid)
  • โรคหูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

สาเหตุของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง?

อย่างที่เรารู้กันว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรค STDs เกิดจากการร่วมรัก หรือมีกิจกรรมทางเพศกับผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว โดยสามารถต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ผ่านอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่เกิดจากการสัมผัส เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแบ่งสาเหตุของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้ ดังนี้

ชื่อโรค สาเหตุการติดเชื้อ เชื้อไวรัส ระยะเวลาฟักตัว
โรคซิฟิลิส – ติดเชื้อจากการจูบ– การมีเพศสัมพันธ์– รับเลือดจากผู้ติดเชื้อ– สัมผัสกับแผลของผู้ป่วย เชื้อแบคทีเรีย Treponema Polidum 10 – 90 วัน (เฉลี่ย 21 วัน)
โรคหนองในแท้ – มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก โดยไม่ใช้ถุงยาง เชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae 2 – 7 วัน
โรคหนองในเทียม – มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ทางปาก โดยไม่ใช้ถุงยาง– ติดเชื้อจากแม่สู่ลูก  เชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis เฉลี่ย 7 วัน
โรคเริม – มีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก โดยไม่ใช้ถุงยาง เชื้อไวรัส Herpes simplex virus 2 – 14 วัน
เชื้อไวรัส HPV – มีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก โดยไม่ใช้ถุงยาง เชื้อไวรัส Human papilloma virus 3 เดือน จนถึงหลายปี
เชื้อไวรัส HIV – การมีเพศสัมพันธ์– รับเลือดจากผู้ติดเชื้อ– ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน– สัมผัสกับแผลของผู้ป่วย

– ติดเชื้อจากแม่สู่ลูก 

เชื้อไวรัส human immunodeficiency virus 2-12 สัปดาห์
โรคหูดหงอนไก่ – มีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย– เปลี่ยนคู่นอนบ่อย  เชื้อไวรัส Human Papillomavirus  3 สัปดาห์ – 8 เดือน  
โรคพยาธิในช่องคลอด – มีเพศสัมพันธ์                    โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย– เปลี่ยนคู่นอนบ่อย – เคยเป็นโรคพยาธิในช่องคลอดมาก่อน เชื้อแบคทีเรีย Trichomonas vaginalis 5 – 28 วัน
โรคแผลริมอ่อน – สัมผัสของเหลวจากผู้ที่มีเชื้อแผลริมอ่อนโดยตรง– มีเพศสัมพันธ์ และสัมผัสกับผิวหนังที่มีบาดแผล                                             เชื้อแบคทีเรีย H.ducreyi  3-7 วัน
โรคหูดข้าวสุก – สัมผัสโดยตรงผ่านผิวหนังของผู้ติดเชื้อ– ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคหูดข้าวสุก– ติดเชื้อเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เชื้อไวรัส  Molluscipox Genus 3 – 12 สัปดาห์

อาการของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 10 โรค

อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคนั้น บางรายอาจมีเพียงตุ่มขึ้นบนผิวหนัง ในขณะที่บางรายอาจมีโรคแทรกซ้อนหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคตได้ สำหรับอาการของแต่ละโรค เราสามารถแบ่งได้ตามนี้ 

ชื่อโรค อาการของโรคต่อทางเพศสัมพันธ์แต่ละชนิด
โรคซิฟิลิส ระยะแรก: จะมีแผลเป็นที่อวัยวะ เป็นขอบแข็งระยะที่สอง: มีผื่นขึ้นตามตัว ฝ่ามือและเท้า ช่องปาก ทวารหนักระยะที่สาม: มีผิวหนังเป็นก้อนนูนแตก กระดูกอักเสบ ตาบอด หูหนวกสมองพิการ เส้นเลือดใหญ่ที่หัวใจโป่งพอง จนเสียชีวิตในที่สุด
โรคหนองในแท้ ผู้ชาย: เสี่ยงต่อการเป็นโรคหนองที่ทวารหนักและลำคอ ไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่บางราย อาจมีอาการอื่นเกิดขึ้น รวมถึงมีของเหลวข้นสีเหลือง หรือสีขาวไหลจากอวัยวะเพศ ทำให้รู้สึกเจ็บ ไม่สบายตัว และมีปัญหาในการปัสสาวะได้ผู้หญิง: ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้น แต่หากมี จะมีของเหลวไหลออกจากช่องคลอดมากผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปัญหาเมื่อถ่ายปัสสาวะ เจ็บท้องน้อยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หากปล่อยไว้ จะทำให้มดลูกเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนและเป็นหมัน
โรคหนองในเทียม ผู้ชาย: รู้สึกปวดหรือมีอาการบวมที่อวัยวะเพศ มีอาการเจ็บแสบเมื่อถ่ายปัสสาวะ บริเวณหุ้มปลายอวัยวะเพศเกิดการอักเสบ รวมถึงมีของเหลวข้นสีเหลือง หรือสีขาวไหลจากอวัยวะเพศผู้หญิง: ตกขาวที่มีกลิ่นเหม็นและลักษณะผิดปกติ มีอาการเจ็บแสบเมื่อถ่ายปัสสาวะ รู้คันหรือแสบร้อนบริเวณรอบอวัยวะเพศ และรู้สึกเจ็บท้องน้อยเมื่อมีประจำเดือนหรือเพศสัมพันธ์
โรคเริม มีตุ่มน้ำหลายตุ่ม ขึ้นบริเวณที่มีการติดเชื้อ โดยตุ่มจะมีขนาดเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ไม่ว่าจะเป็นบริเวณปาก ผิวหนังตามร่างกาย หรืออวัยวะเพศ 
เชื้อไวรัส HPV โรคนี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหลังติดเชื้อ แต่หากมีอาการ จะมีเป็นโรคหูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นก้อนหรือติ่งเนื้อ ผิวขรุขระ ไม่รู้สึกเจ็บบริเวณอวัยวะเพศและผิวหนัง ในบางรายอาจมีอาการที่ร้ายแรงกว่านั้น เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งทวารหนัก 
เชื้อไวรัส HIV ระยะเฉียบพลัน: มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นและปวดหัว ระยะสงบทางคลินิก: มีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่มีอาการแสดงให้เห็นเลยระยะโรคเอดส์ (AIDS): เป็นระยะสุดท้ายของการเชื้อเอชไอวี (HIV) จนกลายเป็นโรคเอดส์ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ จนอาจเสียชีวิตได้
โรคหูดหงอนไก่ โรคนี้แตกต่างจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เนื่องจากโรคหูดหงอนไก่ บางรายอาจไม่แสดงอาการ แต่หากมีอาการ ก็จะมีก้อนโตจนอุดกั้นช่องคลอด ทวารหนักหรือท่อปัสสาวะ ผู้หญิงมีตกขาวผิดปกติ หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณอวัยวะเพศ
โรคพยาธิในช่องคลอด ผู้หญิงจะมีตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น หรือลักษณะแตกต่างไปจากเดิม มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด อวัยวะเพศบวมแดง คัน หรือรู้สึกแสบ ในบางรายอาจมีอาการเจ็บ เมื่อถ่ายปัสสาวะ หรือมีเพศสัมพันธ์ด้วย 
โรคแผลริมอ่อน – สัมผัสของเหลวจากผู้ที่มีเชื้อแผลริมอ่อนโดยตรง– มีเพศสัมพันธ์ และสัมผัสกับผิวหนังที่มีบาดแผล 
โรคหูดข้าวสุก มีตุ่มขึ้น ลักษณะนูนคล้ายครึ่งวงกลม ซึ่งตุ่มนูนมักมีสีเนื้อหรือสีขาวขุ่น ลักษณะแข็ง ผิวเรียบมัน ในบางรายอาจมีรอยบุ๋มตรงกลางตุ่ม ถ้ากดตุ่ม ก็จะเห็นเนื้อสีขาวลักษณะคล้ายข้าวสุก

วิธีป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์  

จะเห็นได้ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรค STDs มีกลุ่มอาการและสาเหตุหลากหลายแบบ หากใครอ่านแล้วรู้สึกว่าไม่อยากเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เหล่านี้ ต้องรู้จักวิธีป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง นอกจากจะลดโอกาสการติดเชื้อแล้ว ยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดตั้งครรภ์น้อยลงด้วย โดยวิธีการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้ 

  1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ลดโอกาสการติดเชื้อและการตั้งครรภ์ได้
  2. ตรวจภายในหรือฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี (HPV)
  3. หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ หรือสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  4. ดูแลสุขภาพเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อทางผิวหนัง
  5. ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในแท้และหนองในเทียม โรคซิฟิลิส รวมถึงควรตรวจเลือดทันที หากมีอาการสงสัยว่าติดเชื้อ HIV
  6. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  7. รักษาความสะอาดทางร่างกายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต้องการติดเชื้อทางผิวหนัง
  8. งดพฤติกรรมที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเสพติดด้วยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์ทางรูทวารหนักโดยไม่ป้องกัน และปัจจัยอื่น ๆ เป็นต้น 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รู้เร็ว ก็หายได้! คุย Talk to PEACH แบบไม่ต้องเปิดเผยตัวตน

Talk to PEACH Promo

สำหรับใครที่มีอาการเสี่ยงและสงสัยว่าตัวเองอาจติดโรคทางเพศสัมพันธ์ สามารถพูดคุยและปรึกษากับนักเพศวิทยา และควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป อย่าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ทำการรักษา เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างรุนแรง จนเสียชีวิตได้ 

สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: http://bit.ly/417az7i 

อ้างอิง: 

ปัญหาเพศชาย

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศทางกาย