31 ตุลาคม 2022
มีเพศสัมพันธ์ทีไร ล่มปากอ่าวไปก่อนทุกที! เชื่อว่าอาการหลั่งเร็ว เสร็จไวแบบนี้ เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่กำลังกวนใจผู้ชายหลาย ๆ คนอยู่แน่นอน สำหรับใครที่สงสัยว่า อาการหลั่งเร็วมีสาเหตุจากอะไรบ้าง และแก้ไขให้หายได้อย่างไร เพื่อไม่ให้สูญเสียความมั่นใจและกระทบกับชีวิตคู่ มาทำความเข้าใจอาการหลั่งเร็ว พร้อม 7 วิธีช่วยปรับพฤติกรรมของอาการหลั่งเร็ว ในบทความนี้เลย
หากไม่อยากมีปัญหาหลั่งเร็ว ควรเลือกถุงยางอนามัยที่มีความหนา หรือใช้ถุงยางอนามัยที่มีตัวยาช่วยชะลอการหลั่ง เนื่องจากจะช่วยลดความรู้สึกลงไปได้ นอกจากนั้นยังเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย
สำหรับเทคนิคแรกนั่นคือเทคนิค Masters and Johnson Method เป็นการฝึกควบคุมการหลั่งด้วยการช่วยตัวเอง โดยให้เริ่มช่วยตัวเองจนเกือบเสร็จกิจ และเข้าใกล้จุดสุดยอดให้ได้มากที่สุด จากนั้นควบคุมไม่ให้เกิดการหลั่ง และพักให้ผ่อนคลายลง แล้วเริ่มทำใหม่ซ้ำอีก 3-4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งให้พยายามสังเกตตัวเองว่า สามารถทนได้นานแค่ไหน
เทคนิคที่สองคือการใช้เทคนิค Squeeze Method ร่วมด้วย คือเมื่อใกล้ถึงจุดสุดยอดแล้ว ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบตรงโคนหรือปลายอวัยวะเพศ ประมาณ 3-4 วินาที เพื่อไม่ให้เลือดคั่ง และช่วยลดอาการตื่นเต้นลง เมื่อความรู้สึกลดลงแล้วจากนั้นให้ลองทำซ้ำอีกครั้ง
การฝึกขมิบก้น มีผลดีต่อกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือรอบทวารหนัก ซึ่งช่วยแก้อาการหลั่งเร็วได้ โดยให้ขมิบก้นเหมือนตอนอั้นอุจจาระ ค้างไว้ 10 วินาที แล้วจึงคลายออก นับเป็น 1 ครั้ง แนะนำให้ทำติดต่อกันแบบนี้ 10-15 ครั้งทุกวัน
การใช้อุปกรณ์ช่วยชะลอการหลั่งเร็ว อย่าง Erection ring หรือห่วงรัดโคนอวัยวะเพศ เป็นอีกวิธีที่ช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือด จึงทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้นานขึ้น และเสร็จกิจช้าลง โดยแนะนำว่าการช่วยอุปกรณ์ดังกล่าวควรศึกษาวิธีใช้ให้ถูกต้อง หรือเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนใช้งาน และไม่ควรหาอุปกรณ์อื่นมาทดแทนอย่างเด็ดขาด
การแก้อาการหลั่งเร็วด้วยการใช้ยา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น โดยการใช้ยามีทั้งการใช้ยาเฉพาะที่ในรูปแบบของครีมหรือสเปรย์ เช่น ลิโดเคน (Lidocaine) เบนโซเคน (Benzocaine) พรีโลเคน (Prilocaine) โดยให้ใช้ตัวยาทาอวัยวะเพศก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้สึกทางเพศลดลงและชะลอการหลั่งลง
นอกจากนี้ ยารับประทานที่ใช้รักษาอาการหลั่งเร็ว กลุ่ม Selective Serotonin Re-Uptake Inhibitor (SSRI) ช่วยเพิ่มสารเซโรโทนิน (Serotonin) และช่วยชะลอการหลั่ง เช่น ดาพ็อกซิทีน (Dapoxetine) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) เซอทราลีน (Sertraline) และ ฟลูออกซีทีน (Fluoxetine) โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ คือมีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว หรือหมดอารมณ์ทางเพศ ดังนั้นการใช้ยารับประทานจึงต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อาจไม่สามารถใช้วิธีนี้ในการรักษาอาการหลั่งเร็วได้
อาหารเสริมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่แนะนำควรเลือกอาหารเสริมที่ผ่านการรับรองมาตรฐานและความปลอดภัยมาแล้วเท่านั้น หรือนำอาหารเสริมเหล่านั้นไปขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับประทานจะดีที่สุด โดยตัวอาหารเสริมที่แนะนำ เช่น โสม วิตามินบีรวม ซิงค์ หรือสังกะสี
แอล-อาร์จินีน สารสกัดจากเปลือกสน และแปะก๊วยหรือกิงโกะ เป็นต้น
หากสาเหตุของอาการหลั่งเร็ว มาจากปัญหาทางด้านจิตใจ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเรียนรู้วิธีการรับมือและจัดการกับความเครียด ได้อย่างเหมาะสม โดยอาจใช้วิธีนี้รักษาร่วมกับวิธีอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้การรักษาอาการหลั่งเร็วยังต้องอาศัยความเข้าใจจากทั้งสองฝ่าย การปรับความเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์กับคู่ชีวิตของตนเอง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้คนสองคนเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น รู้สึกกดดันน้อยลง และอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดียิ่งขึ้น
หากคุณมีอาการหลั่งเร็ว ไม่แข็งตัว เสร็จไว มีเพศสัมพันธ์ทีไรก็ล่มปากอ่าวไปก่อนทุกที อย่าปล่อยให้ปัญหานี้ทำให้คุณเสียเซลฟ์ หรือส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคุณอีกต่อไป
สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: http://bit.ly/417az7i
เพิ่มขนาดน้องชาย มีกี่แบบ? รู้จัก 5 วิธีเพิ่มขนาดน้องชาย แบบปลอดภัย
นกเขาไม่ขันตอนเช้า เกิดจากอะไร? 6 สัญญาณเตือนสำหรับผู้ชาย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
https://www.bangkokhospital.com/content/premature-ejaculation
https://www.omgthailand.net/premature-ejaculation-treatment/#premature-ejaculation-how
ความสัมพันธ์
ปัญหา LGBTQ+
ปัญหาเพศชาย
สุขภาพเพศทางกาย
สุขภาพเพศทางใจ