ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง เรื่องใหญ่ที่ไม่ต้องอาย รักษาได้ด้วย 5 วิธีนี้

ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง เรื่องใหญ่ที่ไม่ต้องอาย รักษาได้ด้วย 5 วิธีนี้

24 มีนาคม 2023

Share on

หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า ปัสสาวะเล็ด ไม่ใช่อาการของผู้สูงอายุเสมอไป แต่สามารถเกิดขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงานไปจนถึงวัยทองได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้น อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ผ่านการคลอดบุตร หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก โดยจะมีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยไม่ตั้งใจ ขณะไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย หรือขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ จนเกิดเป็นความรำคาญ อับอาย ไม่มั่นใจ เครียด วิตกกังวล หรือในบางรายอาจส่งผลกับจิตใจ จนถึงขั้นเก็บตัว ไม่กล้าออกจากบ้าน

อาการปัสสาวะเล็ด ที่ผู้หญิงควรรู้

Urinary Incontinence 2

ปัสสาวะเล็ด (Urinary Incontinence) คือภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งขณะปวดหรือยังไม่ปวดปัสสาวะ โดยเป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ และอาจเกิดขึ้นขณะกำลังใช้ชีวิตประจำวันหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย หรือยกของหนัก สำหรับอาการปัสสาวะเล็ดสามารถพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ระหว่างช่วงอายุ 17 ถึง 79 ปี

ปัสสาวะเล็ด เกิดจากอะไร

  • อายุมากขึ้น และเข้าสู่ช่วงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน แม้อาการปัสสาวะเล็ดจะสามารถพบได้ในผู้หญิงหลากหลายวัย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอายุก็มีส่วนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานกระเพาะปัสสาวะบรรจุปัสสาวะได้ลดลง พร้อมกันกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตได้ลดลงในช่วงหมดประจำเดือน ทำให้ความแข็งแรงของเยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะลดลงตามไปด้วย
  • ผ่านการคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติทางช่องคลอดหลายครั้ง การคลอดบุตรส่งผลให้อุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรงหรือหย่อนลงมา ซึ่งมีผลต่อการกลั้นและควบคุมปัสสาวะ
  • น้ำหนักตัวมาก เมื่อมีน้ำหนักตัวมากจะมีแรงกดทับลงบนกระเพาะปัสสาวะมากตามไปด้วย ทำให้มีการบีบตัวที่ส่งผลให้น้ำปัสสาวะไหลเล็ดออกมาได้ และเกิดการยืดขยายของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานมากไป จนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเกิดอาการหย่อนได้
  • การหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง เช่น มดลูกที่หย่อนตัวลงไปเบียดกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะที่หย่อนตัวลง ทำให้ความสามารถในการกลั้นปัสสาวะลดลงตามไปด้วย
  • พฤติกรรมการบริโภคและการใช้ยาบางชนิด อย่าง การดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยานอนหลับ กล่อมประสาท หรือฮอร์โมนทดแทน เป็นต้น
  • อาการเจ็บป่วยอื่น เช่น ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ท้องผูก มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เป็นต้น

รวม 5 วิธีแก้ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง

Urinary Incontinence 3

  1. เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ควบคุมปริมาณอาหาร หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม เป็นต้น
  2. เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ลดน้ำหนัก งดการสูบบุหรี่ บริหารกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อรอบช่องคลอด 5-15 วินาที ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฝึกปัสสาวะให้เป็นนิสัย 6-8 ครั้งต่อวัน แก้ไขอาการท้องผูก 
  3. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากมีการเข้าพบแพทย์ แพทย์สามารถวินิจฉัยให้ผู้ป่วยรับประทานยาบางชนิดที่ช่วยเรื่องกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะให้คลายตัวหรือบีบตัวน้อยลงได้ 
  4. ผ่าตัดเพื่อแก้ไขความบกพร่องที่เชื่อมโยงกับอาการปัสสาวะเล็ด โดยแพทย์จะผ่าตัดรักษาตามอาการ ในบางกรณีอาจมีการผ่าตัดเพื่อใส่เครื่องมือช่วย
  5. เลเซอร์ยกกระชับ การใช้นวัตกรรมเลเซอร์ยกกระชับภายใน เป็นการเลเซอร์ฟื้นฟูให้ช่องคลอดและท่อปัสสาวะกระชับขึ้น และเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อในช่องคลอดและท่อปัสสาวะที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ดให้บรรเทาอาการลง

ไม่รักษา อาจพาสุขภาพพัง! ทำความรู้จักการเลเซอร์แก้ปัญหาปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง

Urinary Incontinence 4

ทราบหรือไม่ว่า อาการปัสสาวะเล็ดที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ราว 50 เปอร์เซ็นต์ แต่มีเพียง 25-61 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากอาการปัสสาวะเล็ดได้ เช่น

  • เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เช่น มีผื่น เกิดแผลจากความเปียกชื้นบริเวณจุดช่อนเร้น
  • เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและจิตใจ เช่น กระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงเกิดความรู้สึกอับอาย ไม่กล้าเข้าสังคม เกิดความเครียดและความวิตกกังวล  

ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาอาการปัสสาวะเล็ดด้วยการนำนวัตกรรมเลเซอร์มาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือมีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยการรักษาด้วยวิธีการใช้เลเซอร์นี้ เป็นการรักษาที่ไม่สร้างบาดแผล ไม่เพิ่มความเสี่ยงจากอาการแทรกซ้อนใด ๆ ไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้น และไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่เหมาะผู้ที่มีข้อจำกัดด้านสุขภาพ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อประเมินอาการและความรุนแรง พร้อมขอคำแนะนำถึงแนวทางการรักษาก่อนทำการรักษา

ปัสสาวะเล็ด เรื่องใหญ่แต่ไม่ต้องอาย พูดคุยกับเราได้อย่างสบายใจ

Talk to PEACH Promo

นอกจากอาการปัสสาวะเล็ดจะส่งผลกระทบกับสุขภาพร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวันแล้ว ยังสร้างความทุกข์ทรมานทางจิตใจให้กับคุณผู้หญิงหลาย ๆ ท่านอีกด้วย

สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: http://bit.ly/417az7i

อ้างอิง:
https://bit.ly/42EZCf1
https://bit.ly/3JJEVpm 
https://bit.ly/3ZbGQJ8
http://bit.ly/40AZr2t 

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศทางกาย