14 พฤษภาคม 2024
โลกในปัจจุบันมีความหลากหลายทางเพศมากมาย สำหรับกลุ่มคนที่มีรสนิยมทางเพศ แบบ Bisexual หรือในคำภาษาไทยที่เราอ่านทับศัพท์กันว่า ไบเซ็กชวล ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มคนที่ทุกคนควรรู้จักและทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
ในบทความนี้ Talk to PEACH ขอพาไปทำความรู้จักว่า Bisexual คือใคร เพื่อให้เข้าใจผู้คนที่นิยามตัวเองว่าเป็นไบเซ็กชวลอย่างแท้จริง ไบเซ็กชวล คืออะไร มาหาคำตอบของความหลากหลายทางเพศ
Bisexual คือรูปแบบหรือรสนิยมทางเพศ ที่รู้สึกชอบ ดึงดูด หรือมีความสัมพันธ์กับคนที่เป็นเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามกันได้ด้วย ยกตัวเช่น A เป็นผู้หญิง ซึ่ง A นั้นรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศ หรือชอบพอ กับ B ที่เป็นผู้ชาย และ C ที่เป็นผู้หญิงด้วย ซึ่งความสัมพันธ์นี้ A อาจจะไม่ได้รู้สึกชอบทั้ง B และ C เท่า ๆ กันก็ได้
ไม่ได้มีหลักฐานหรืองานวิจัยชี้ชัดว่าการเป็นไบเซ็กชวลทำให้มีโอกาสนอกใจกว่าเพศอื่น ๆ เพราะเรื่องการนอกใจนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศที่เราเป็น
นอกจากจะมีกลุ่มความหลากหลายทางเพศที่แทนตัวเองว่า ไบเซ็กชวล (Bisexual) แล้วนั้น ก็ยังมี แพนเซ็กชวล (Pansexual) ซึ่งมีรสนิยมที่รักได้ทุกเพศ ไม่ว่าจะเพศชาย เพศหญิง หรือเพศที่สาม เพศทางเลือก ซึ่งคำว่า Pan ในภาษาลาตินแปลว่าทั้งหมด
วิธีสังเกตง่าย ๆ เลยว่าตนเองเป็นไบเซ็กชวลไหมนั้น ขั้นแรกคือจะมีความรู้สึกว่าตนเองมีแรงดึงดูดทั้งต่อเพศเดียวกันและเพศตรงกันข้าม ต่อมาสามารถยอมรับความรู้สึกดึงดูดที่มีต่อหลายเพศโดยไม่ตัดสินหรือปฏิเสธมัน ข้อสำคัญคืออย่ากดดันตนเองให้เข้ากับกรอบเพศสภาพ ยอมรับความซับซ้อนของความรู้สึกทางเพศที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาและสถานการณ์ด้วย
ต้องอธิบายก่อนว่ารสนิยมทางเพศ ไม่ใช่โรค เพราะการที่เราชอบหรือมีความสัมพันธ์กับเพศใดเพศหนึ่ง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดตัวตนและอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคล ไม่มีวิธีการใดที่จะ “รักษา” หรือ “เปลี่ยนแปลง” รสนิยมทางเพศให้หายไปจากบุคคลนั้น ๆ ได้ การที่บางคนมีความสนใจทางเพศกับทั้งเพศชายและเพศหญิงนั้นเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ถอดรสนิยมทางเพศออกจากบัญชีรายการโรคทางจิตเวชแล้วตั้งแต่ปี 1990
จากที่กล่าวข้างต้น Bisexual คือรสนิยมที่สามารถดึงดูดและมีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งคนที่เป็นเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามกัน ทั้งนี้ก็ยังต้องพึงระวังเรื่องการมีเซ็กซ์ให้ปลอดภัยด้วย ไม่ว่าจะเป็น
ทุกคนในกลุ่มไบเซ็กชวลอาจมีประสบการณ์และตัวตนที่แตกต่างกัน ควรเข้าใจและยอมรับความต่างเหล่านี้โดยไม่มีที่ติ
ให้ความสำคัญกับการฟังความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้อื่นในกลุ่ม นอกจากนี้ยังควรเรียนรู้จากประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้อื่น
เช่น ประสบการณ์ทางเพศหรือรายละเอียดในเรื่องนอนกับใคร เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวและละเอียดอ่อนกับผู้ที่ถูกถาม
เช่น คำด้อยค่าเกี่ยวกับความรักร่วมเพศ เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหนเราต่างเป็นมนุษย์ที่ต้องอยู่สังคมร่วมกัน
สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/xaJMIjG
อ้างอิง
ปัญหา LGBTQ+