12 เมษายน 2024
สำหรับผู้หญิงอย่างเราคงต้องเคยประสบกับภาวะที่ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน แค่ไม่มาเดือนเดียวก็เครียดแล้ว แต่ถ้าไม่มา 2 เดือนนั้นส่งผลกระทบอะไรบ้าง และประจำเดือนไม่มา 2 เดือนแต่ตรวจแล้วไม่ท้อง เพราะอะไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเรื่องประจำเดือนไม่มา พร้อมสาเหตุ และวิธีดูแลร่างกายตนเองกัน
เกริ่นก่อนว่าประจำเดือนนั้น เป็นภาวะที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกกลายเป็นเลือดและเนื้อเยื่อออกมาทางช่องคลอด เนื่องจากร่างกายไม่ได้เกิดการปฏิสนธิกัน และไม่ได้ตั้งครรภ์ จึงทำให้มีรอบเดือนเกิดขึ้นประจำในทุก ๆ เดือน ซึ่งภาวะการขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนไม่มาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
นอกจากนี้การที่ประจำเดือนไม่มา ก็เกิดอาการได้หลากหลายแบบ เช่น ตกขาว ปวดหัวมากผิดปกติ หรือช่องคลอดแห้ง เราได้รวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับประจำเดือนไม่มา ไว้ดังนี้
อีกหนึ่งปัญหายอดฮิตประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่ไม่ท้อง มีปัจจัยหลายสาเหตุที่ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ทำงานหนักหักโหม ออกกำลังกายมากไป พักผ่อนน้อย อดนอน นอนดึก อดอาหาร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาได้เช่นกัน
หากประจำเดือนไม่มาและมีอาการตกขาว ร่วมกับอาการปวดท้องน้อย อาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ได้ว่าอาจจะเกิดจากการติดเชื้อรา หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ควรตรวจครรภ์หรือไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ถูกต้อง
สำหรับการตรวจครรภ์นั้น สามารถตรวจได้ตนเอง ง่าย สะดวก เป็นการตรวจชนิดปัสสาวะไหลผ่าน ยี่ห้อ Check One ราคา 129 บาท ให้ผลตรวจแม่นยำถึง 99 เปอร์เซ็นต์ รู้ผลไวภายใน 1 นาที ใช้งานสะดวกมีขั้นตอน ดังนี้
หากประจำเดือนมีภาวะที่มีรอบเดือนที่สั้นหรือยาวกว่าปกติ มามากหรือน้อยกว่าปกติ หรือไม่มาเลย สาเหตุของภาวะนี้มีหลายอย่าง เช่น ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร ภาวะเครียด การออกกำลังกายหนัก การทานยาบางชนิด โรคอ้วน โรคไทรอยด์ ดังนั้น วิธีดูแลตนเองสามารถทำได้ดังนี้
1. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
เช่น ลดความเครียด หากิจกรรมผ่อนคลายทำ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกฮอล์ เพราะจะส่งผลต่อฮอร์โมนเพศหญิง
2. รับประทานยา เช่น การทานยาคุม หรือฝังยาคุม แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อที่จะหาวิธีการคุมหรือปรับประจำเดือนให้เหมาะสมกับร่างกายของตนเอง
3. ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
หากประจำเดือนไม่มาบ่อยเกินไป หรือถี่เกินไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีเหมาะสมในการดูแลตนเอง
สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/UDiwOkv
อ้างอิง:
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศหญิง