24 กรกฎาคม 2023
ช่วงที่สาว ๆ มีประจำเดือนนอกจากจะเกิดความไม่สบายตัวแล้ว บางครั้งอาจไม่สบายใจไปด้วยเพราะมีประจำเดือนเป็นก้อนหรือลิ่ม ซึ่งเลือดประจำเดือนสามารถบอกได้ว่าสุขภาพของสาว ๆ ดีหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นสัญญาณของบางโรคร้ายด้วย
แต่อย่าเพิ่งกังวลใจไปกันใหญ่ วันนี้ ‘Talk to PEACH’ จะพามาทำความเข้าใจว่าประจำเดือนเป็นก้อนนั้นเกิดจากสาหตุใด แล้วอาการแบบไหนที่อันตราย มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลย
โดยปกติแล้วเลือดประจำเดือนจะมีสีแดงเข้ม และมีลักษณะเป็นของเหลวข้น ๆ บ้างก็อาจเหมือนเกล็ดเลือดขนาดเล็กที่กระจายตัว หรือขนาดใหญ่ขึ้นจนเป็นลักษณะของประจำเดือนเป็นก้อนหรือที่เรียกว่า ‘ลิ่มเลือด’ นั่นเอง ซึ่งร่างกายสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเสียเลือดมากเกินไป ขนาดปกติจะอยู่ที่ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร มาดูกันดีกว่าว่าปัญหาประจําเดือนเป็นก้อน เกิดจากอะไรได้บ้าง
ในยารักษาโรคบางประเภท อย่าง สเตียรอยด์ จะส่งผลต่อระบบฮอร์โมน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นกว่าปกติและประจำเดือนมามาก อย่างไรก็ตามอาการจะดีขึ้นเองเมื่อเวลาผ่านไป
ร่างกายขาดธาตุเหล็กในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งส่งผลให้ประจำเดือนเป็นก้อน แถมเป็นต้นตอของโรคโลหิตจางอีกด้วย ดังนั้น สาว ๆ จึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน เช่น เนื้อสัตว์ ถั่วเปลือกแข็ง และไข่ไก่ เป็นต้น
วัยใกล้หมดประจำเดือน อายุระหว่าง 40 – 50 ปี มีโอกาสเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งอาการจะมีตั้งแต่การปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ปริมาณประจำเดือนเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จนสะสมอยู่ในช่องคลอดและท้ายที่สุดจะจับตัวกันเป็นลิ่มเลือด
สาเหตุข้อต่อมาของการเกิดเมนส์เป็นก้อนก็คือ โรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกในมดลูก และรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS) ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศหญิงแปรปรวน มีประจำเดือนมากกว่าปกติและอาจเกิดเป็นลิ่มเลือดด้วย
สำหรับการมีประจำเดือนเป็นก้อนเป็นกลไกปกติของร่างกาย แต่ต้องคอยสังเกตความผิดปกติ เช่น ลิ่มเลือดมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกินกว่า 2 เซนติเมตร และมีเลือดประจำเดือนออกมาผิดปกติจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 1 – 2 ชั่วโมง มีกลิ่นผิดปกติ หรือปวดท้องรุนแรง นอกจากนี้ แนะนำให้เลือกตรวจภายในเป็นประจำปีละ 1 ครั้งร่วมด้วย
แล้วสัญญาณอันตรายรูปแบบใดที่ไม่ควรละเลยบ้าง มาเช็กกันเลย
สำหรับสัญญาณอันตรายแรกที่มากับการมีประจำเดือนเป็นก้อน คือ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือ ช็อกโกแลตซีสต์ โดยจะมีอาการปวดประจำเดือนรุนแรงขึ้นทุกเดือนร่วมด้วย หากมีเพศสัมพันธ์จะเจ็บลึก ๆ บริเวณท้องน้อยหรือช่องคลอดมากขึ้น
สำหรับอาการเนื้องอกมดลูก จะมีประจำเดือนปริมาณมากและมานานในแต่ละครั้ง แถมมีก้อนเลือดปนออกมาขนากใหญ่ผิดปกติ ผู้ป่วยมักปวดประจำเดือนรุนแรง หรือบางครั้งมีอาการปวดขณะที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน ทั้งนี้ เนื้องอกมดลูกหากปล่อยไว้นานอาจเติบโตขึ้นและกดทับอวัยวะใกล้เคียง จนเกิดอาการหรือโรคแทรกซ้อนอื่นได้
สัญญาณข้อนี้สังเกตได้จากประจำเดือนที่มาไม่สม่ำเสมอหรือขาดติดต่อกันหลายเดือน ผนังโพรงมดลูกจึงมีความหนามาก เมื่อหลุดออกมาเป็นประจำเดือนจึงมีปริมาณมากและเกิดลิ่มเลือดได้ง่าย
โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบพบได้ในสตรีอายุ 18 ไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน โดยสามารถสังเกตอาการได้จากลิ่มเลือดที่สีคล้ายกับเลือดหมูและประจำเดือนมามากผิดปกติ
การมีประจำเดือนมากผิดปกติเกินกว่า 7 วันร่วมกับการมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ไหลออกมา และมีอาการข้างเคียง เช่น หน้ามืด หน้าซีด เป็นลม อาจเกิดจากโรคอันตราย เช่น ระบบการแข็งตัวของเลือด ก้อนเนื้อในมดลูกและเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
นอกจากการสังเกตลักษณะของประจำเดือนแล้ว การบันทึกและคำนวณรอบเดือน ด้วย Period Tracker ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะทำให้สาว ๆ รู้เท่าทันความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนด้วย ลองใช้ Period Tracker ได้แล้ววันนี้ ฟรี! ที่แอปฯ Talk to PEACH
อ้างอิง: