ถุงน้ําในรังไข่ อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการพร้อมบอกสาเหตุและวิธีรักษา

ถุงน้ําในรังไข่ อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการพร้อมบอกสาเหตุและวิธีรักษา

07 มิถุนายน 2024

Share on
ถุงน้ําในรังไข่ อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการพร้อมบอกสาเหตุและวิธีรักษา1

อีกหนึ่งภาวะที่พบบ่อยได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์แล้ว นั่นคือ ภาวะถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดท้อง และรอบเดือนมาไม่ปกติ แล้วภาวะถุงน้ำในรังไข่ อาการเป็นอย่างไร คืออะไร มีอาการนี้แบบไหนผิดปกติ

ในบทความนี้ Talk To PEACH จะพาทุกคนไปรู้จักภาวะถุงน้ำในรังไข่กันให้มากขึ้น พร้อมบอกสาเหตุและวิธีรักษา

ถุงน้ำในรังไข่ คืออะไร? ถุงน้ําในรังไข่ อาการเป็นอย่างไร?

ถุงน้ำในรังไข่ หรือ ที่เรียกว่าซีสต์ คือถุงหรือกระเปาะที่มีของเหลวหรือเนื้อเยื่อเจริญอยู่ภายใน ซึ่งเกิดขึ้นภายในหรือรอบรังไข่ของผู้หญิง ถุงน้ำจะแตกออกเพื่อกระตุ้นให้ไข่ตก และจะค่อย ๆ ยุบและหายไปเอง ซึ่งถุงน้ำสามารถค้างอยู่ในร่างกายได้นานถึง 2-3 เดือนและยุบหายไป

ถุงน้ำในรังไข่ อาการเป็นยังไง

ถุงน้ําในรังไข่ อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการพร้อมบอกสาเหตุและวิธีรักษา2

แล้วถุงน้ำในรังไข่ อาการเป็นยังไง? แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเป็น PCOS – Polycystic Ovary Syndrome หรือภาวะถุงน้ำในรังไข่ มักมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้

  1. ปวดท้องหรือปวดบริเวณเชิงกราน มักจะเป็นอาการปวดทื่อ ๆ หรือปวดเกร็งที่อาจเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ หรือคงที่
  2. ปวดในช่วงมีประจำเดือน อาจมีอาการปวดมากขึ้นในช่วงนี้
  3. ปวดในระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์
  4. ปัสสาวะบ่อยหรือรู้สึกปวดเมื่อปัสสาวะ หากมีซีสต์ขนาดใหญ่สามารถกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือรู้สึกปวดเมื่อปัสสาวะได้
  5. อาจมีประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น มามากหรือมาน้อยกว่าปกติ
  6. ท้องอืดหรือรู้สึกแน่นในท้อง
  7. บางกรณีอาจมีน้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  8. อาการอื่น ๆ ที่พบได้น้อย อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือรู้สึกไม่สบายทั่วไป
ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

ถุงน้ำในรังไข่แตก หายเองได้ไหม

ถุงน้ำในรังไข่ หรือซีสต์สามารถสลายเองได้ตามธรรมชาติไม่ต้องผ่าตัด แต่ทั้งนี้ก็มีซีสต์บางประเภทที่อาจทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด และรักษาอย่างทันท่วงที

โรคถุงน้ำในรังไข่ มีลูกได้ไหม

หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้าเราเป็นภาวะถุงน้ำในรังไข่ สามารถมีลูกได้ไหม นั้น คำตอบคือ สามารถมีบุตรได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการมีภาวะนี้อาจส่งผลให้มีบุตรยาก ควรปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินและวางแผนการมีลูก

ประเภทของถุงน้ำรังไข่ มีอะไรบ้าง

ถุงน้ำรังไข่แบบ ฟังค์ชั่นนัล ซีสต์ (Functional Cyst)

เป็นถุงน้ำรังไข่เกิดขึ้นได้ปกติ เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ในเพศหญิง

เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Tumor หรือ Ovarian Cyst)

สามารถเป็นได้ทั้งเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงหรือร้ายแรง โดยสามารถตรวจสอบได้จากการตรวจเอกซเรย์หรือตรวจอัลตราซาวด์ 

ถุงน้ำคล้ายเนื้องอก (Tumor like condition) หรือ ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)

เกิดจากการที่บริเวณรังไข่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สังเกตได้ง่าย ๆ ว่า หากมีประจำเดือนจะมีเลือดซึมออกมาสะสมคล้ายกับสีของช็อกโกแลต 

 วิธีรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่

ถุงน้ําในรังไข่ อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการพร้อมบอกสาเหตุและวิธีรักษา3

การรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่ขึ้นอยู่กับขนาด ประเภท และอาการของซีสต์ วิธีการรักษาหลัก ๆ ที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็น

การเฝ้าระวัง ตรวจสอบภาวะถุงน้ำในรังไข่

หากถุงน้ำมีขนาดเล็กและไม่มีอาการ แพทย์อาจแนะนำให้เฝ้าระวังโดยการตรวจอัลตราซาวนด์เป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่าถุงน้ำหายไปเองหรือไม่ โดยควรเข้ารับการตรวจภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การใช้ยา 

ทานยาคุมกำเนิดที่ควบคุมโดยแพทย์ ช่วยควบคุมรอบเดือนและลดโอกาสการเกิดถุงน้ำใหม่ ๆ แต่ไม่ได้ทำให้ถุงน้ำที่มีอยู่หายไป

ทั้งนี้หากอาการรุนแรงจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัดผ่านกล้อง ใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำขนาดเล็ก โดยการทำแผลเล็ก ๆ และใช้กล้องช่วยในการผ่าตัด เป็นต้น

วิธีป้องกันไม่ให้เป็นถุงน้ำในรังไข่

ถุงน้ําในรังไข่ อาการเป็นยังไง ชวนเช็กอาการพร้อมบอกสาเหตุและวิธีรักษา4

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าการมีภาวะถุงน้ำในรังไข่ ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม มีวิธีบางอย่างที่อาจช่วยลดความเสี่ยงหรือช่วยในการตรวจพบและรักษาได้เร็วขึ้น ได้แก่

1. การตรวจสุขภาพเป็นประจำ

เช่น การตรวจอัลตราซาวนด์หรือการตรวจภายในเป็นประจำสามารถช่วยตรวจพบถุงน้ำในรังไข่ตั้งแต่ระยะแรก ๆ และรักษาได้เร็ว

2. การใช้ยาคุมกำเนิด

การใช้ยาคุมกำเนิดสามารถช่วยควบคุมฮอร์โมนและลดความเสี่ยงของการเกิดถุงน้ำในรังไข่บางประเภทได้

3. การรักษาความสมดุลของฮอร์โมน

เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และลดความเครียด

4. หมั่นตรวจภายใน

หากมีภาวะทางนรีเวชอื่น ๆ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) ควรได้รับการรักษาและติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ

5. การสังเกตและรายงานอาการผิดปกติ

หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปวดในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

ถุงน้ำรังไข่ห้ามกินอะไรบ้าง?

หากกังวลเรื่องภาวะถุงน้ำในรังไข่ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้งนี้ควรงดรับประทานอาหารบางประเภท ที่ทำให้รบกวนฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็น

1. อาหารที่มีไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวสูง

อาหารทอด ฟาสต์ฟู้ด ขนมอบที่ทำจากน้ำมันปาล์มและมาการีน หรืออาหารที่มีไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวอาจส่งผลต่อฮอร์โมนและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับถุงน้ำในรังไข่

2. น้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตขัดสี

งด หรือเว้นการทานขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ขนมปังขาว ข้าวขาว พาสต้า เพราะน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตขัดสีสามารถเพิ่มระดับอินซูลินและมีผลกระทบต่อฮอร์โมน ซึ่งอาจทำให้ถุงน้ำเติบโต

3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

แอลกอฮอล์และคาเฟอีนในปริมาณมากอาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนและการทำงานของรังไข่ได้

กังวลเกี่ยวกับถุงน้ําในรังไข่ อาการเป็นยังไง ปรึกษา Talk to PEACH ได้เลย

ปรึกษาเรื่องเพศแบบไม่ระบุตัวตน ได้ที่แอปฯ Talk to PEACH
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/bYHuUin

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง:

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศหญิง