09 ตุลาคม 2023
อีกหนึ่งไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคร้ายและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นั่นคือ เชื้อไวรัส HPV หรือ ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papilloma Virus) นั่นเอง
โดยไวรัสชนิดนี้สามารถเป็นอันตรายได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย และสาเหตุของโรคมะเร็งหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งช่องคลอด เป็นต้น
ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสได้ บทความนร่ เราจะมาทำความรู้จักเชื้อ HPV กัน เพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทัน และป้องกันได้ก่อนจะสายไป
เชื้อไวรัส HPV หรือ ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papilloma Virus) มาจากไวรัสที่สามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ และการสัมผัสผ่านทางน้ำลายหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ โดยเชื้อ HPV มีประมาณ 40 สายพันธุ์ที่สามารถเกิดได้กับมนุษย์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 หมวด ดังนี้
มักเกี่ยวข้องกับการเป็นสาเหตุของมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร และอื่น ๆ ซึ่งเชื้อ HPV ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทีไม่ได้ป้องกันหรือป้องกันผิดวิธีนั่นเอง
อาจทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศได้
ส่วน เชื้อ HPV อยู่ในร่างกายกี่ปี นั้น ส่วนใหญ่แล้ว เชื้อ HPV จะถูกร่างกายกำจัดออกไปโดยธรรมชาติหรือผ่านระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายภายใน 1-2 ปี หลังจากการติดเชื้อ แต่บางครั้งเชื้อ HPV สามารถอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายว่าแข็งแรงหรือภูมิคุ้มกันตกลงหรือไม่
สำหรับอาการของเชื้อ HPV นั้นเราสามารถแบ่งออกได้ ทั้งหญิงและชาย เพราะแต่ละเพศก็มักแสดงอาการแตกต่างออกไป โดยอาการที่พบ สามารถแบ่งได้ ดังนี้
เชื้อ HPV ในผู้หญิง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งช่องปาก โดยอาการที่สังเกตได้ มีดังนี้
สำหรับผู้ชายก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เช่นเดียวกับในผู้หญิง ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งทางทวารหนัก โดยอาการและอันตรายที่พบได้ มีดังนี้
เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหญิงและชาย ทำให้ต้องระวังและป้องกันเป็นอย่างมาก ซึ่งวิธีการป้องกันที่สามารถทำ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HPV มีดังนี้
เนื่องจากถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ราว 90 เปอร์เซ็นต์ แต่อาจยังมีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารคัดหลั่งในบริเวณอื่นได้อีก
แนะนำให้รักษาความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์เพราะเชื้อ HPV สามารถติดผ่านทางการสัมผัสได้ด้วย ในปัจจุบันสามารถใช้ถุงยางอนามัยสำหรับนิ้วมือร่วมด้วยได้
แนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ในทุก 5 ปี สำหรับผู้หญิงแนะนำตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำในทุก ๆ 3 ปี
การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ใน สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี และวัคซีนจะป้องกันด้วยประสิทธิภาพสูงสุดในคนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือรับเชื้อ HPV
หรือสามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/9fHAihO
อ้างอิง
ปัญหาเพศชาย
ปัญหาเพศหญิง