30 พฤษภาคม 2023
สาว ๆ หลายคนเชื่อว่าการฝ่าไฟแดง หรือ การมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีประจำเดือนปลอดภัย มีโอกาสตั้งครรภ์น้อย แต่ในทางการแพทย์แล้ว การปล่อยในตอนเป็นเมนส์ ท้องไหม มีผลข้างเคียงหรือผลดีจริงหรือไม่ วันนี้ Talk to PEACH ได้รวบรวมคำตอบมาไว้ที่นี่แล้ว อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจฝ่าไฟแดงจนกว่าจะอ่านบทความนี้จนจบ!
ในทางการแพทย์การปล่อยในตอนเป็นเมนส์ ท้องไหม? เบื้องต้นพบว่ามีโอกาสท้อง แม้ว่าสาว ๆ จะยังมีประจำเดือนอยู่ก็สามารถตั้งครรภ์ได้อยู่ดี หากไม่ทานยาคุมกำเนิดหรือสวมถุงยางอนามัยป้องกัน นั่นก็เพราะอสุจิสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นานถึง 72 ชั่วโมงในช่องคลอด ยิ่งมีเพศสัมพันธ์ในวันใกล้หมดประจำเดือน โอกาสการตั้งครรภ์ก็สูงขึ้นด้วย
จากงานวิจัยของคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล พบว่าการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างมีประจำเดือนในเพศหญิงวัยผู้ใหญ่สูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และในวัยรุ่นมีราว 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งบางคนมีความเชื่อว่าการฝ่าไฟแดงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องและคุมกำเนิดได้
หรือในบางกรณีสาว ๆ อาจมีเลือดคล้ายประจำเดือนไหลออกมาใน ‘วันตกไข่’ ที่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์มากที่สุด ฉะนั้นหากไม่พร้อมตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะร่วมรักตอนไหนก็อย่าลืมใช้ตัวช่วยในการคุมกำเนิดไว้จะดีที่สุด
แม้ว่าโอกาสตั้งครรภ์ในขณะมีประจำเดือนนั้นจะน้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากกังวลว่าอาจตั้งครรภ์ ควรใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถตรวจหาฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะ ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 10-12 วัน ชุดตรวจการตั้งครรภ์มีประสิทธิภาพสูง หากใช้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำ อย่างไรก็ตามหากผลตรวจเป็นลบ แต่ยังกังวลอยู่ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำ
บทความที่เกี่ยวข้อง
เมื่อทราบคำตอบแล้วว่าปล่อยในตอนเป็นเมนส์ ท้องไหม เราจะพามาเปิดประเด็นแง่ดีของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเป็นประจำเดือนกันต่อ อย่างความเชื่อเรื่องฝ่าไฟแดงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องก็เป็นความจริง ในทางการแพทย์อธิบายว่าเมื่อสตรีถึงจุดสุดยอด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขอย่าง เอนดอร์ฟิน (Endorphins) ออกซิโทซิน (Oxytocin) และโดปามีน (Dopamine) ออกมา ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แถมลดอาการตะคริวบริเวณช่องคลอดในระหว่างเป็นประจำเดือนอีกด้วย
เท่านั้นยังไม่พอฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน ยังช่วยลดอารมณ์แปรปรวน ให้ร่างกายผ่อนคลายและกระปรี้กระเป่า แถมร่างกายยังตอบสนองต่อการร่วมเพศได้ดีมากขึ้น ด้วยความต้องการทางเพศที่สูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตามสาว ๆ บางคนอาจรู้สึกอึดอัดจากประสาทสัมผัสที่ไวกว่าปกตินี้ได้เช่นกัน
การฝ่าไฟแดงมีประโยชน์ในบางด้าน แต่ความเสี่ยงในการติดเชื้อทางช่องคลอดหรือปากมดลูกสูงกว่าปกติถึง 3 เท่า! ยกตัวอย่างโรคที่ถ่ายทอดทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน HIV, HPV พยาธิในช่องคลอด และเริม เป็นต้น โดยสาเหตุหลักที่ร่างกายติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
เพราะช่วงมีประจำเดือนปากมดลูกเปิด ทำให้เชื้อแบคทีเรียจากการมีเพศสัมพันธ์เข้ามายังโพรงมดลูกได้ง่ายขึ้น แถมภูมิคุ้มกันในช่วงที่สาว ๆ มีประจำเดือนยังต่ำลงอีกด้วย แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ มาเรียนรู้วิธีการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยขึ้นอีกขั้นกันต่อเลย
หากช่วงมีประจำเดือนแล้วอารมณ์พลุ่งพลานไม่อาจเลี่ยงได้จริง ๆ มี 3 วิธีที่ทำให้การมีเพศสัมพันธ์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ดังนี้
ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ช่วงไหนการคุมกำเนิดก็สำคัญ เช่น การกินยาคุม การฝังยาคุม การสวมใส่ถุงยางอนามัยและการฉีดยาคุม เพื่อให้มั่นใจว่ามีเพศสัมพันธ์ครั้งนั้นไม่เสี่ยงตั้งครรภ์
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าช่วงมีประจำเดือนมีโอกาสท้อง แถมติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นการสวมใส่ถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันเชื้อโรคได้อีกขั้น ดังนั้นใครจะฝ่าไฟแดงจะขาดถุงยางอนามัยไปไม่ได้โดยเด็ดขาด
การมีเพศสัมพันธ์ในวันแดงเดือดควรที่ผ้ารองกันเปื้อนไม่ให้เลอะเทอะหรือฝังคราบบนที่นอน และท่าในการร่วมเพศที่แนะนำ ได้แก่ ท่ามิชชันนารี ท่าผีเสื้อ และท่านอนตะแคง
คราวนี้ทุกคนคงหมดคำถามแล้วว่าการฝ่าไฟแดง ท้องไหม มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องป้องกันให้ปลอดภัยมากที่สุด หากคุณมีปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือน
สามารถปรึกษาแพทย์ได้โดยตรงบนแอปพลิเคชัน Talk to PEACH ซึ่งไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนบนพื้นที่ปลอดภัยแห่งนี้ โดยพูดคุยผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/OFZs4 นอกจากนี้คุณยังสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ด้วยวิธีนี้
การใช้คำว่า “ฝ่าไฟแดง” ในบริบทนี้ หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูง โดยไม่ได้ป้องกัน เปรียบเสมือนการฝ่าไฟแดงที่เสี่ยงต่ออันตราย วิธีป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อฝ่าไฟแดง มีดังนี้
อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การใช้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำสุขภาพโดยรวม ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
อ้างอิง:
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศทางกาย