07 กุมภาพันธ์ 2025
มีผู้หญิงหลายคนที่มีอาการเมนไม่มา หลังจากกินยาคุมฉุกเฉินและวิตกกังวลว่า ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้ผลหรือไม่ทำงานรึเปล่า? กังวลไปจนถึงว่าจะท้องหรือไม่? ซึ่งบทความนี้ จะพาสาว ๆ ไปหาคำตอบกันว่า กินยาคุมฉุกเฉินแล้วเมนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง? และควรทำอย่างไรเมื่อเมนไม่มาหลังกินยาคุมฉุกเฉิน
ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีฉุกเฉิน เช่น หลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถูกข่มขืน หรือกรณีที่วิธีคุมกำเนิดที่ทำอยู่ล้มเหลว (เช่น ถุงยางแตก) แต่ยาคุมฉุกเฉินไม่ใช่ยาคุมกำเนิดแบบปกติและไม่ควรใช้เป็นประจำ เนื่องจากมีฮอร์โมนในปริมาณสูงที่อาจส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว ดังนั้น ควรกินแค่ในกรณีที่ ‘ฉุกเฉิน’ จริง ๆ เท่านั้น
ยาคุมฉุกเฉินมีส่วนประกอบของฮอร์โมน เช่น Levonorgestrel หรือ Ulipristal Acetate ที่มีบทบาทในการป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลป้องกันไม่ให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาในช่วงเวลาที่อาจเกิดการปฏิสนธิ และ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัว โดยยาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดหากรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และควรทานทันทีภายใน 12-24 ชั่วโมง เพราะจะสามารถป้องกันได้ประมาณ 70-85 %
.
เนื่องจากเป็นยาที่ไม่ควรใช้เป็นประจำ จึงอาจมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
.
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทุกคนควรจำไว้ให้ขึ้นใจก็คือ ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนยาคุมกำเนิดแบบปกติ เพราะยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพต่ำกว่าและอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
การกินยาคุมฉุกเฉินแล้วเมนไม่มาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจรวมถึงผลข้างเคียงของยาหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ยาคุมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนสูง ซึ่งอาจทำให้รอบเดือนเลื่อนหรือมาช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะหากใช้ในช่วงกลางหรือปลายรอบเดือน ประจำเดือนก็อาจมาช้าได้ถึง 1-2 สัปดาห์ แต่ไม่ควรมีระยะเวลานานกว่านี้
แม้ว่ายาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% หากประจำเดือนขาดเกิน 2 สัปดาห์ ควรตรวจการตั้งครรภ์เพื่อยืนยัน โดยใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์หรือไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาล
ความเครียด ความวิตกกังวลหลังการใช้ยาคุมฉุกเฉิน หรือการกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อรอบเดือน เพราะความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงกับฮอร์โมนในร่างกาย การที่เรายิ่งเครียด ประจำเดือนก็อาจยิ่งมาช้าไปด้วย
การใช้ยาคุมฉุกเฉินซ้ำ ๆ หรือบ่อยครั้ง หรือการที่ร่างกายมีการปรับตัวต่อฮอร์โมนจากยา อาจทำให้รอบเดือนมาผิดปกติ และอาจเกิดภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกบางเกินไป จึงไม่สามารถหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนได้
โรคหรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่ (PCOS) หรือ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ การเจ็บป่วยทั่วไป หรือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น น้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
.
ทั้งนี้ ให้สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายร่วมไปด้วย หากเกิน 2 เดือนแล้ว เมนยังไม่มา แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมจะดีที่สุด
ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่ามีเหตุการณ์หรือปัจจัยที่ทำให้ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้ผลด้วย และปัจจัยที่ทำให้ยาคุมฉุกเฉินไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้
ยาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากรับประทานภายในเวลา ซึ่งก็คือ 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ หากรับประทานช้าเกินช่วงเวลาที่กำหนด ยาอาจไม่สามารถป้องกันการตกไข่หรือการปฏิสนธิได้
ยาคุมฉุกเฉินมีหน้าที่หลักในการยับยั้งการตกไข่ หากไข่ตกไปแล้วก่อนที่จะรับประทานยา ยาคุมฉุกเฉินก็อาจไม่สามารถป้องกันการปฏิสนธิได้เช่นกัน
งานวิจัยพบว่ายาคุมฉุกเฉินประเภท Levonorgestrel อาจมีประสิทธิภาพลดลงในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 70 กิโลกรัม หรือมี BMI สูงกว่า 30 และ Ulipristal Acetate อาจยังคงมีประสิทธิภาพดีกว่าสำหรับกลุ่มนี้ แต่ก็อาจลดลงในผู้ที่มีน้ำหนักตัวสูงมาก
ยาและสมุนไพรบางชนิดอาจไปลดประสิทธิภาพการทำงานของยาคุมฉุกเฉิน เช่น ยากันชัก (เช่น Phenytoin, Carbamazepine), ยาปฏิชีวนะบางชนิด (เช่น Rifampin), สมุนไพร St. John’s Wort หากใช้ยาเหล่านี้ ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาคุมฉุกเฉิน
ยาคุมฉุกเฉินไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นแล้ว หากมีการปฏิสนธิและไข่ฝังตัวในโพรงมดลูกก่อนรับประทานยา
การใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยเกินไปอาจทำให้รอบเดือนผิดปกติ และเพิ่มความเสี่ยงที่การคุมกำเนิดจะล้มเหลว เนื่องจากระบบฮอร์โมนถูกรบกวน
แม้แอลกอฮอล์หรือความเครียดจะไม่ลดประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินโดยตรง แต่สามารถส่งผลต่อการสื่อสารหรือการทำตามขั้นตอนที่เหมาะสมได้
.
ซึ่งหลาย ๆ ปัจจัยเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ผู้หญิงหลายคนไม่รู้ว่าส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินด้วยและเมื่อยาคุมฉุกเฉินไม่ทำงาน สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ก็คือ การตั้งครรภ์
หลายคนอาจใช้ยาคุมฉุกเฉินไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างแน่นอน หากคุณสงสัยว่าตัวเองอาจตั้งครรภ์ มาลองเช็กอาการให้ชัวร์ดูดีกว่าว่าแบบนี้ท้องหรือไม่?
วิธีเช็กให้ชัวร์ว่าคุณตั้งครรภ์จริงหรือไม่ สามารถเช็กได้โดยการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งควรตรวจหลังจากประจำเดือนขาดไปอย่างน้อย 7 วัน หรือหากอยากให้มั่นใจจริง ๆ ก็สามารถเดินทางไปตรวจเลือดได้ที่โรงพยาบาล ซึ่งวิธีนี้จะสามารถรู้ผลได้ทันที
.
แต่ถ้าหากไม่ได้ตั้งครรภ์ อาการเหล่านี้ก็อาจเกิดจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลหรือมีความผิดปกติของรังไข่ ควรไปปรึกษาแพทย์ทันที
การใช้ยาคุมฉุกเฉิน เป็นวิธีที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่ได้เป็นวิธีที่แนะนำให้ใช้บ่อย ๆ เนื่องจากไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) และยังมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีการป้องกันที่ Talk to PEACH นำมาฝากกันดูแทนดีกว่า!
การใช้ถุงยางอนามัย เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ไม่ว่าจะเป็นHIV ซิฟิลิส หนองใน และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย และถุงยางก็ยังมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และสามารถใช้ได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง (มีถุงยางสำหรับผู้หญิงด้วยนะ)
วิธีนี้ต้องการความแม่นยำสูงในการคำนวณรอบเดือนและการติดตามอุณหภูมิของร่างกาย เพราะต้องติดตามการตกไข่และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตก วิธีนี้อาจไม่ได้ผล 100% แต่เป็นทางเลือกที่ไม่มีผลข้างเคียงจากฮอร์โมนหรือสารเคมี สามารถใช้ชุดตรวจการตกไข่เพื่อตรวจการตกไข่ ชุดตรวจจะมีความแม่นยำถึง 99% ถ้าต้องการตรวจการตกไข่ สามารถซื้อชุดตรวจการตกไข่ ได้ที่ https://oci.ltd/UxnDXRB
การทำหมันทั้งในผู้ชายและผู้หญิงเป็นวิธีที่ถาวรในการป้องกันการตั้งครรภ์ วิธีนี้เหมาะสำหรับคู่รักที่ไม่ต้องการมีลูกอีกต่อไป และมีความมั่นใจในการตัดสินใจ
เรื่องของเมนเป็นเรื่องที่ผู้หญิงควรใส่ใจ ยิ่งถ้ากินยาคุมฉุกเฉิมแล้วเมนไม่มา ยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ตรวจเช็กตัวเองคร่าว ๆ ก่อน ถ้าเกิดไม่ชัวร์ว่าจะไม่เกิดความผิดปกติหลังจากการกินยาคุมฉุกเฉินแล้วจริง ๆ ใช่ไหม ให้ลองปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อให้ได้คำตอบที่แน่นอน
โดย Talk to PEACH สามารถให้คำแนะนำทางด้านเพศได้โดยเฉพาะ สามารถปรึกษากับนักเพศวิทยาแบบส่วนตัว แบบไม่เปิดผยตัวตน ปรึกษาได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/2gdqX44 เพื่อให้ได้คำปรึกษาและความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดนั่นเอง
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศหญิง