อยากเลื่อนประจำเดือน ทำยังไง? วิธีใช้ยาเลื่อนประจำเดือนให้ปลอดภัย

อยากเลื่อนประจำเดือน ทำยังไง? วิธีใช้ยาเลื่อนประจำเดือนให้ปลอดภัย

29 พฤษภาคม 2023

Share on
ประจําเดือนไม่มา 1 เดือน

สาว ๆ ที่มีแพลนท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมอาจวิตกกังวลจนหมดสนุก หากเป็นช่วงที่มีประจำเดือน เพราะรู้สึกไม่สบายตัวและไม่คล่องตัว

ตัวช่วยอย่าง ‘ยาเลื่อนประจำเดือน’ จึงเป็นทางเลือกที่หลายคนให้ความสนใจ แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ว่ายาเลื่อนประจำเดือน กินตอนไหน มีผลข้างเคียงใดบ้างและมีวิธีใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย วันนี้ ‘Talk to PEACH’ จะพามาหาคำตอบแบบละเอียด! 

ไขข้อสงสัย ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร?

ยาเลื่อนประจำเดือน หรือ ยาเลื่อนเมนส์ (Period Delay Tablets) คือ ยากลุ่มโปรเจสเตอโรน ซึ่งตัวยาที่เภสัชกรแนะนำโดยทั่วไป คือ Primolut N อันประกอบด้วยนอร์เอทีสเตอโรน ปริมาณ 5 มิลลิกรัม ชื่อทางการค้าเรียกว่า ‘Primolut-N 5 mg’ ทั้งนี้ยาเลื่อนประจำเดือนสามารถใช้ทานเพื่อชะลอให้รอบเดือนมาช้ากว่าปกติได้

หากถามว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเกี่ยวข้องกับประจำเดือนอย่างไร? เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งที่ควบคุมภาวะการตกไข่และการมีประจำเดือน ดังชื่อ Progesterone ที่มาจาก pro-gestation แปลว่าการสนับสนุนการตั้งครรภ์ 

โดยวงจรการเกิดประจำเดือนเริ่มต้นจากการที่ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มความหนาขึ้นเพื่อเตรียมรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว 

แต่หากไม่มีการปฏิสนธิระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงและเยื่อบุโพรงมดลูกส่วนที่หนาขึ้นนี้จะลอกและไหลออกมาเป็นประจำเดือนในที่สุด ดังนั้นการกินยาเลื่อนประจำเดือนกลุ่มโปรเจสเตอโรนจึงช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนไม่หลุดออกมานั่นเอง 

ยาเลื่อนประจำเดือน ควรกินตอนไหนจึงจะเห็นผลและปลอดภัย?

เมื่อเข้าใจแล้วว่ายาเลื่อนประจำเดือนคืออะไร เราจะมาเฉลยให้กระจ่างว่ายาเลื่อนเมนส์กินยังไง? แล้วยาเลื่อนประจำเดือน กินตอนเมนส์มาวันแรกได้มั้ย? สำหรับสาว ๆ ที่มีแพลนเที่ยวหรือวันสำคัญอยากเลื่อนประจำเดือน ก่อนอื่นต้องทราบชัดเจนว่าวันที่ประจำเดือนมาคือวันไหน

อย่างเช่น ประจำเดือนมาวันที่ 22 เป็นประจำ วันไข่ตกคือวันที่ 7 – 8  โดยปกติฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะอยู่ราว 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน

ฉะนั้นหากสงสัยว่ายาเลื่อนเมนส์ กินก่อนกี่วัน? แพทย์แนะนำให้กินก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน 1 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้ทัน

โดยตัวยานอร์เอทีสเตอโรน ปริมาณ 5 mg ที่เราแนะนำข้างต้นสามารถกินได้ต่อเนื่องจนถึงวันที่ไม่จำเป็นต้องเลื่อนประจำเดือน อย่างไรก็ตามสาว ๆ ไม่ควรกินต่อเนื่องเกิน 1 สัปดาห์ และไม่ควรใช้ยาเป็นประจำ เก็บไว้ใช้เฉพาะช่วงมีความจำเป็นจริง ๆ หรือโอกาสพิเศษจะดีกว่า เนื่องจากการมีประจำเดือนในเดือนต่อ ๆ ไปอาจผิดปกติได้

นอกจากนี้ยาเลื่อนประจำเดือน ราคายังจับต้องได้ มีตั้งแต่ชนิดแผงยี่ห้อ Steron และ Norca 10 เม็ด ราคาประมาณ 50 บาทขึ้นไป หรือเครื่องหมายการค้า Primolut-N แผง 15 เม็ด 2 แผง ราคา 200 ขึ้นไป แล้วยาเลื่อนประจำเดือน ซื้อที่ไหน? สาว ๆ สามารถหาซื้อได้ตามร้านยาทั่วไปได้เลย

ส่วนยาเลื่อนเมนส์ กินตอนเมนส์มาอาจไม่ได้ผลเพราะร่างกายตามธรรมชาติรู้ว่าไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อน จึงสลายเยื่อบุโพรงมดลูกส่วนที่หนาขึ้นและไหลออกมาเป็นประจำเดือนตามปกติแล้ว แต่ในเรื่องปริมาณประจำเดือนอาจลดลงและจำนวนวันที่มีประจำเดือนอาจสั้นลง ทั้งนี้อาจมีประจำเดือนซ้ำอีกรอบในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

ใครกำลังมองหายาหยุดประจำเดือนกะทันหัน การกินยาเลื่อนประจำเดือนจึงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก 

ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

ข้อควรระวังในการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน ที่สาว ๆ ต้องรู้!

อีกหนึ่งประเด็นที่สาว ๆ กังวลก็คือยาเลื่อนประจำเดือน ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร ข้อแรกที่เราเรียนรู้กันมาก็คือ ความผิดปกติของการมีประจำเดือนจากการใช้ยาเลื่อนรอบเดือนบ่อย ๆ หรือใช้ยาติดต่อกันเกิน 7 วัน

ในบางรายอาจเกิดผลข้างเคียงเมื่อใช้ยา เช่น ง่วงซึม ปวดศีรษะ คัดตึงหน้าอก ท้องผูก ท้องเสีย และรู้สึกร้อนวูบวาบ แล้วการกินยาเลื่อนประจำเดือน อันตรายไหม? มีข้อควรระวังที่สาว ๆ ควรทราบ ดังนี้

  • อาการเลือดออกผิดปกติ

หากมีเลือดออกผิดปกติและไม่แน่ใจว่าใช่ประจำเดือนหรือไม่ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ การซื้อยาเลื่อนประจำเดือนมากินเองอาจทำให้บดบังอาการของโรคได้

  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

สำหรับสาว ๆ ที่ไม่สามารถคาดวันที่ประจำเดือนมาได้อาจไม่ทราบวันตกไข่แน่ชัด การกินยาเลื่อนรอบเดือนจึงไม่เห็นผล

5 กลุ่มบุคคลที่ต้องควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเลื่อนประจำเดือน 

  1. คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เกิน 6 สัปดาห์ 
  2. คุณแม่ที่ให้นมบุตร 
  3. ผู้ที่เคยเป็นโรคเกี่ยวกับตับ 
  4. ผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งที่อวัยวะเพศ
  5. ผู้ที่มีประวัติเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน

เช็กก่อนใช้! ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ บันทึกและคำนวณรอบเดือน ช่วยได้

Period Tracker บันทึกและคำนวณรอบเดือน

หากสาว ๆ ไม่แน่ใจว่าตัวเองมีอาการประจำเดือนผิดปกติหรือไม่  การบันทึกและคำนวณรอบเดือน ด้วย Period Tracker จะทำให้เรารู้เท่าทันความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนได้ทันที ลองใช้ Period Tracker ได้แล้ววันนี้ ฟรี! ที่แอปฯ Talk to PEACH

อ้างอิง:

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศทางกาย