ยา ต้าน HIV PrEP และ PEP ต่างกันอย่างไร ชวนดูวิธีการป้องกันเอชไอวี

ยา ต้าน HIV PrEP และ PEP ต่างกันอย่างไร ชวนดูวิธีการป้องกันเอชไอวี

09 ตุลาคม 2023

Share on
ยา ต้าน HIV PrEP และ PEP ต่างกันอย่างไร ชวนทำความรู้จักการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV)1

สำหรับเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ทั่วโลกต่างเฝ้าระวังกันและค้นหาวิธียับยั้งและรักษาเสมอมา ซึ่งในปัจจุบันมียาต้าน HIV หลากหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันจะมียาเพร็พ (PrEP) และ ยาเป๊ป (PEP) เป็นยาต้าน HIV แล้วยาสองชนิดนี้คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร และวิธีการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) มีอะไรบ้างนั้น เราไปศึกษากันได้เลย

ยา ต้าน HIV คืออะไร?

ยา ต้าน HIV PrEP และ PEP ต่างกันอย่างไร ชวนทำความรู้จักการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV)2

เป็นยาที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ยาต้าน HIV ก่อนสัมผัสเชื้อเอชไอวี (HIV) (หรือที่เรียกกันว่า ยา PrEP ย่อมาจาก  Pre-Exposure Prophylaxis) และยาต้าน HIV หลังสัมผัสเชื้อเอชไอวี (HIV) (หรือที่เรียกว่า ยา PEP Post-Exposure Prophylaxis) เป็นยารับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ จะออกฤทธิ์ยับยั้งและต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี (HIV) เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว

ยาต้าน HIV มีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วยา ต้าน HIV มี 2 แบบคือ 

  1. ยาต้าน HIV ก่อนสัมผัสเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือที่เรียกกันว่า ยาเพร็พ (PrEP)
  2. ยาต้าน HIV หลังสัมผัสเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือที่เรียกว่า ยาเป๊ป (PEP) 

โดยยา 2 ตัวนี้มีข้อแตกต่าง และผลข้างเคียงกัน แบ่งได้ดังนี้

การใช้ยาเพร็พ (PrEp) และผลข้างเคียง

ยา ต้าน HIV PrEP และ PEP ต่างกันอย่างไร ชวนทำความรู้จักการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV)3

สำหรับยาเพร็พ (PrEp) เป็นยาที่ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งจำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่อง อย่างน้อย 7 วันก่อนจะคาดการณ์ว่าอาจจะได้รับความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ การรับยานำไปรับประทานจำเป็นต้องเข้าพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อให้ได้การรับยาที่ถูกต้อง
และ ยาเพร็พ (PrEp) มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย แต่อาจจะเกิดได้ในลักษณะต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  • อาการปวดหัวทั่วไป หรือมีอาการคลื่นไส้ตามมา
  • อาการท้องเสียหรืออ่อนเพลีย
  • หากผู้ที่ทานในระยะยาว จำเป็นต้องตรวจสุขภาพไตในทุก ๆ 6 เดือน เพราะอาจเกิดการสูญเสียมวลกระดูกขึ้นได้
  • ไม่แนะนำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีรับประทาน 

การใช้ยาเป๊ป (PEP) และผลข้างเคียง

ยา ต้าน HIV PrEP และ PEP ต่างกันอย่างไร ชวนทำความรู้จักการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV)4

ยาเป๊ป (PEP) เป็นตัวยาที่ต้านไวรัส HIV สำหรับคนที่สัมผัสหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยจำเป็นต้องกินยาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ การรับยานำไปรับประทานจำเป็นต้องเข้าพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้ได้การรับยาที่เหมาะสมและถูกต้อง  และ ยาเป๊ป (PEP) มีผลข้างเคียงอาจจะเกิดได้ในลักษณะต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  • อาการคลื่นไส้ และเวียนหัว
  • อาการอ่อนเพลีย หรือท้องอืด อาจเกิดขึ้นในช่วง 4-5 วันแรกหลังจากทานยา
  • การรับประทานยานี้เหมาะกับผู้ที่ได้รับการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ได้ตั้งใจ และไม่ได้ป้องกัน เพื่อป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่อาจเกิดขึ้นได้

คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาและวิธีป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) อื่น ๆ ที่เราควรรู้

ยา ต้าน HIV PrEP และ PEP ต่างกันอย่างไร ชวนทำความรู้จักการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV)5
  1. เมื่อทราบถึงความเสี่ยงในการรับเชื้อเอชไอวี (HIV) ควรเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็วที่สุด

การเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยทันทีที่ทราบว่ามีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี ด้วยวิธีการรับยาต้าน จะช่วยให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยหรือมีโรคแทรกซ้อน แต่หาก ทั้งนี้ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  1. การตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV)

สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงควรตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV) อย่างสม่ำเสมอ เมื่อทราบผลแล้วสามารถเริ่มรับการรักษาและป้องกันการแพร่เชื้อต่อไปได้อย่างทันท่วงที

  1. การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

ควรสวมถุงยางอนามัยในทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันตัวเองตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ 

  1. ระวังการใช้เข็มฉีดยาและวัตถุมีคมร่วมกับผู้อื่น

หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาหรือเข็มที่มีเลือดร่วมกับผู้อื่น รวมถึงของมีคมที่อาจทำให้ติดเชื้อได้

มีความเสี่ยงในการรับเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการกินยาเพร็พ (PrEP) และ ยาเป๊ป (PEP) คุยกับ Talk to PEACH ได้

Talk to PEACH Promo
Talk to PEACH button

สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://bit.ly/46d7LZq 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

ปัญหา LGBTQ+

ปัญหาเพศชาย

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศทางกาย