ปวดท้องเมนส์มาก ทำไงดี ชวนดูสาเหตุและวิธีรักษา

ปวดท้องเมนส์มาก ทำไงดี ชวนดูสาเหตุและวิธีรักษา

23 พฤษภาคม 2024

Share on
ปวดท้องเมนส์มาก ทำไงดี ชวนดูสาเหตุและวิธีรักษา1

ปวดท้องเมนส์เป็นอาการที่ผู้คนจำนวนมากต้องเผชิญ หลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะต้องปวดบ้างในช่วงมีรอบเดือน แต่อาการปวดท้องเมนส์มาก ๆ บางครั้งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าที่คิด 

ปวดท้องเมนส์ คืออะไร?

ปวดท้องเมนส์มาก ทำไงดี ชวนดูสาเหตุและวิธีรักษา2

ปวดท้องเมนส์หรือ อาการปวดท้องประจำเดือน คือ อาการปวดท้องน้อยในช่วงที่มีรอบเดือน โดยปกติเพศหญิงมักจะมีอาการปวดท้องเกร็งเล็กน้อย ปวดแบบหน่วง ๆ หรือปวดรุนแรงบริเวณท้องน้อยก่อนและระหว่างมีประจำเดือน บางรายอาจมีอาการปวดเพิ่มเติม เช่น ปวดหลัง ปวดแขน ปวดขา ท้องผูก ท้องอืด ท้องเสีย เป็นต้น

สาเหตุของอาการปวดท้องเมนส์

  • การบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อขับเนื้อเยื่อภายในออกมาเป็นประจำเดือน บางครั้งการบีบตัวอาจรุนแรงมากกว่าปกติทำให้กดทับหลอดเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณนั้นไม่เพียงพอ จึงเกิดอาการปวดเกร็งได้
  • ในช่วงมีประจำเดือน ร่างกายจะมีการผลิตสารโปรสตาแกลนดินออกมา ซึ่งเป็นสารที่มีหน้าที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการบีบตัวมากยิ่งขึ้น จึงทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น
  • ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะนี้จะทำให้ปวดท้องเมนส์มาก โดยจะมีอาการติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้
    • ถุงน้ำในรังไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
    • เนื้องอกมดลูก ซึ่งพบได้บ่อยในเพศหญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป
    • อุ้งเชิงกรานอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • ปากมดลูกตีบ ทำให้เลือดประจำเดือนไหลออกมาไม่สะดวก

อาการปวดท้องเมนส์แบบไหนต้องพบแพทย์?

ปวดท้องเมนส์มาก ทำไงดี ชวนดูสาเหตุและวิธีรักษา3

อาการปวดท้องเมนส์ที่พบทั่วไปในเพศหญิงมักจะเป็นเพียงอาการปวดเล็กน้อยช่วงวันแรกๆ เท่านั้น ไม่ต้องกังวลไปมากนัก แต่หากมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

  • ทานยาบรรเทาปวดชนิดไม่ต้องได้รับการสั่งจากแพทย์ เช่น พอนสแตนแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้นเลย
  • ปวดท้องประจำเดือนแบบปวดบีบรุนแรงมาก และปวดนานเกิน 2-3 วัน โดยมีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ร่วมด้วย
  • อาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือปวดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • มีเลือดประจำเดือนไหลออกมามากผิดปกติจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยแทบทุกชั่วโมง
  • พบเนื้อเยื่อปนมากับเลือดประจำเดือน โดยเนื้อเยื่อจะมีสีเทา
  • มีอาการปวดท้องน้อยแม้ในช่วงที่ไม่ได้มีประจำเดือน
  • มีอาการบ่งชี้ว่าติดเชื้อ เช่น คันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ หรือตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • มีปัญหาเรื่องมีบุตรยาก
  • มีอายุมากกว่า 25 ปี แต่กลับมีอาการปวดท้องประจำเดือนแบบรุนแรงเป็นครั้งแรก
  • มีไข้ร่วมกับอาการปวดท้องประจำเดือน

อันตรายจากการปวดท้องเมนส์มากผิดปกติ อาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงตามมาได้ เช่น

  • อาการปวดท้องเมนส์มากอาจทำให้เกิดแผลที่เนื้อเยื่อต่างๆ จนไปทำลายอวัยวะภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานในที่สุด
  • ภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากการติดเชื้อหรือความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์
  • หากมีอาการปวดท้องเมนส์มากกระทันหันหรือปวดท้องน้อยมากๆ อาจเป็นสัญญาณของภาวะฉุกเฉิน เช่น การหมุนของรังไข่ ซึ่งต้องผ่าตัดรักษาทันที หากปล่อยไว้อาจทำให้รังไข่ตายได้
ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

วิธีบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์เบื้องต้น 

  • ใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรือ แผ่นแปะร้อน ประคบท้องน้อยและหลัง
  • อาบน้ำอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานผักและผลไม้ ลดปริมาณอาหารที่มีไขมัน เกลือ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขนมหวาน
  • ทานยาแก้ปวดลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่มักจะมีผลในการบรรเทาอาการปวด เช่น พอนสแตน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น
  • หากยาธรรมดาที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปยังไม่ช่วยบรรเทาอาการได้ ให้ปรึกษาแพทย์ แพทย์จะพิจารณาสั่งจ่ายยาบรรเทาอาการปวดที่แรงกว่าเดิมตามความเหมาะสม
  • ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเพศหญิง จะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ เนื่องจากไปยับยั้งการตกไข่ หากไม่มีการตกไข่ อาการปวดประจำเดือนก็จะน้อยลงตามไปด้วย
  • การผ่าตัดเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยนิยมใช้ในกรณีที่เป็นเนื้องอกในมดลูกหรือกรณีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งมีขนาดใหญ่หรือได้รับการรักษาด้วยยาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น

การดูแลรักษาอาการปวดท้องเมนส์อย่างเหมาะสมและทันท่วงทีจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม ก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่ถูกต้องได้

มีอาการปวดท้องเมนส์มากผิดปกติ หรือ ปัญหาประจำเดือน ปรึกษา Talk to PEACH เลย 

Talk to PEACH Promo
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/jbudXhW

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศทางกาย

สุขภาพเพศหญิง