ประจำเดือนมา 2 รอบใน 1 เดือนผิดปกติไหม? สัญญาณที่ผู้หญิงควรรู้

ประจำเดือนมา 2 รอบใน 1 เดือนผิดปกติไหม? สัญญาณที่ผู้หญิงควรรู้

22 กุมภาพันธ์ 2025

Share on

เมื่อประจำเดือนมา 2 รอบ ใน 1 เดือน เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงไม่ควรจะมองข้าม เพราะนี่คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงการสะท้อนจากภายในร่างกายเกี่ยวกับความผิดปกติของตัวเอง สามารถบอกได้ว่าตอนนี้ร่างกายไม่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตามความกังวลเหล่านั้นก็อย่ารีบตีความไปเองว่าเกิดอันตรายกับร่างกาย เพราะมีหลายสาเหตุประกอบกัน ดังนั้นต้องกลับไปคิดทบทวนว่ามีสิ่งใดที่ทำให้การใช้ชีวิตผิดแปลกไปจากเดิมหรือไม่ 

.

ในบทความนี้ Talk to PEACH ได้รวบรวมทุกคำตอบของทุกปัญหาของคุณผู้หญิงเอาไว้เรียบร้อยแล้ว!

เลือกอ่านได้ตามหัวข้อที่สนใจ

ประจำเดือนมา 2 รอบใน 1 เดือน ผิดปกติไหม?

ปัญหาประจำเดือนมา 2 รอบทำให้หลายคนกังวล แต่ไม่ถือว่าผิดปกติ เพราะปกติแล้วรอบเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 21-35 วัน หากประจำเดือนมาถี่ขึ้น อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่ควรจะต้องใส่ใจ

สาเหตุที่อาจทำให้ประจำเดือนมา 2 รอบใน 1 เดือน

อย่ารีบกังวลใจ ลองดูสาเหตุเหล่านี้ก่อนว่า มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหรือไม่ ? 

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน – พักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • ความเครียดและการใช้ชีวิต – ความเครียดในทุก ๆ เรื่อง
  • ปัญหาทางสุขภาพ – บอกถึงปัญหาภายในร่างกาย
  • ภาวะการตั้งครรภ์หรือการแท้ง
  • การเปลี่ยนแปลงในรอบเดือนหลังคลอด
  • การใช้ยาหรือยาฮอร์โมน

.

ปัญหาเหล่านี้ลองนึกโดยภาพรวมดูกันก่อนว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งต้องทบทวนให้ดีก่อนที่จะกังวล 

ความไม่สมดุลของฮอร์โมน

ประจำเดือนมา 2 รอบ เกิดจาก ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ควบคุมรอบเดือน มีความไม่สมดุลกันภายในร่างกาย ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อยู่ในช่วงวัยรุ่นที่ร่างกายยังปรับตัวไม่สมบูรณ์ หรืออยู่ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน

การตกไข่ผิดปกติ

การตกไข่ผิดปกติสามารถทำให้ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา อาจทำให้เกิดเลือดออกระหว่างรอบเดือนจากปัญหาของระบบสืบพันธุ์ อาจจะทำให้ ประจำเดือนมา 2 รอบได้

ภาวะความเครียดและความเหนื่อยล้า

ความเครียดสะสมจากการทำงานหนัก ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากปัญหาครอบครัว ปัญหาคู่รัก หรือปัญหาทางด้านการเงิน ปัญมีผลทำให้รอบเดือนเปลี่ยนแปลง หรือมีประจำเดือนมา 2 รอบในเดือนเดียวได้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิด

การเริ่มใช้หรือเปลี่ยนชนิดของยาคุมกำเนิดทุกชนิดที่มีฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบรายเดือน, การแปะผิวหนัง, ฝังยาคุมใต้ผิวหนัง รวมไปถึงแบบฉีด จะส่งผลทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง และมีส่วนที่อาจทำให้เกิดเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือน 

โรคหรือปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับมดลูก

โรคเกี่ยวกับมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก (Myoma) หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) พร้อมทั้ง PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นความผิดปกติทางฮอร์โมนที่พบบ่อยในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ อาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับมดลูกอื่น ๆ ซึ่งจะต้องไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ละเอียดอีกครั้ง  

อาการประจำเดือนแบบไหนที่มาบ่อยแล้วควรกังวล?

  • ประจำเดือนมาห่างกันน้อยกว่า 21 วัน
  • เลือดออกมากผิดปกติ
  • เลือดออกระหว่างรอบเดือน
  • ประจำเดือนมาพร้อมกับอาการปวดท้องมาก
  • ประจำเดือนหายไปหรือไม่มีประจำเดือนหลายเดือน

เลือดออกมากเกินไป

เริ่มจากการสังเกต ว่าต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมง หรือ มีเลือดออกมากผิดปกติหรือไม่ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณที่บอกว่าเรากำลังมีปัญหาสุขภาพ

เลือดออกนานเกิน 7 วัน

ปกติประจำเดือนจะมาแบบปกติคือ ไม่เกิน 7 วัน ถ้าหากมายาวนานมากกว่านั้นแสดงว่าผิดปกติ แนะนำว่า ต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

มีอาการปวดท้องรุนแรง

ถ้าหากว่ามีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาจจะเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรง เช่น ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซีสต์ในรังไข่ เนื้องอกมดลูก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เลือดมีลักษณะผิดปกติ

หากลักษณะของเลือดที่มีมีลิ่มหนา สีคล้ำ มีกลิ่นที่ผิดปกติ ควรจะต้องรีบปรึกษาแพทย์ หากไม่สบายใจให้รับการตรวจอย่างละเอียด 

วิธีป้องกันและดูแลตัวเองให้รอบเดือนปกติ

การป้องกัน และ ดูแลตนเองเป็นเรื่องที่คุณผู้หญิงจะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องของความละเอียดอ่อน หากว่าไม่ใส่ใจ ปล่อยปะละเลยอาจจะเกิดปัญหาที่หนักยิ่งกว่า ซึ่ง Talk to PEACH ได้สรุปวิธีการดูแลตัวเองแบบที่เข้าใจง่าย ๆ ที่จะทำให้รอบเดือนมาแบบปกติมาให้แล้ว

รักษาความสมดุลของฮอร์โมน

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในบริมาณที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป 
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาสมดุลของฮอร์โมน 
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย

ลดความเครียด

มองหากิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด ซึ่งมีหลายประเด็นมากที่เป็นเชิงบวกดีต่อร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย กิจกรรมที่ชื่นชอบ งานอดิเรกที่ทำให้อารมณ์ดี  การท่องเที่ยว การทำสมาธิ หรือเล่นโยคะ 

หลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดที่ไม่เหมาะสม

  • ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน กรณีนี้ส่งผลเสียต่อฮอร์โมนโดยตรง ไม่ควรใช้ 
  • ยาคุมกำเนิดบางชนิดต้องเลือกชนิดที่เหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ

ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและติดตามสถานะของระบบสืบพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล

การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้ดี เป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรง เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ

ดูแลสุขภาพประจำเดือนให้ถูกต้อง ลองมาปรึกษาที่ Talk to PEACH

สิ่งที่สะท้อนออกมาได้ดีที่สุดเกี่ยวกับปัญหาเรื่องสุขภาพของผู้หญิง คือ ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็น รอบของการเป็นประจำเดือน ลักษณะของเลือด กลิ่น แน่นอนเลยว่าจะบอกได้ว่าคุณผู้หญิงนั้นมีสุขภาพที่ดีเป็นปกติหรือไม่

ปรึกษาเรื่องเพศแบบไม่ระบุตัวตน ได้ที่แอปฯ Talk to PEACH
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

อย่าอายที่จะนำความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาปรึกษาได้ที่ Talk to PEACH เพราะคุณเองสามารถปรึกษาเรื่องเพศได้ในทุกเรื่อง ทุกแง่มุม ที่สำคัญปรึกษาผ่านแอปพลิเคชั่น https://oci.ltd/sBSFYYz ที่มี แพทย์ และ นักเพศวิทยารอตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งแนะนำได้ทุกคำตอบ

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศหญิง