ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการเป็นยังไง ชวนเช็กก่อนเป็นอันตราย

ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการเป็นยังไง ชวนเช็กก่อนเป็นอันตราย

25 กรกฎาคม 2024

Share on
ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการเป็นยังไง ชวนเช็กก่อนเป็นอันตราย1

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของคุณแม่มากมาย แต่ในบางครั้งอาจเกิดความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ โดยหนึ่งในภาวะที่อันตรายและต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน คือ ภาวะการท้องนอกมดลูก

.

ในบทความนี้ Talk to PEACH ขอพาไปทำความเข้าใจกับภาวะดังกล่าวมากขึ้น

ท้องนอกมดลูกคืออะไร 

การท้องนอกมดลูก หรือ Ectopic Pregnancy เป็นภาวะที่ตัวอ่อนไม่ได้ฝังตัวในโพรงมดลูก แต่ไปฝังอยู่ในบริเวณอื่น ๆ เช่น ท่อนำไข่ (ซึ่งเป็นบริเวณที่พบได้บ่อยที่สุด) มดลูกส่วนคอ หรือ ในช่องท้อง เนื่องจากตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตในบริเวณดังกล่าวได้

.

ภาวะนี้จึงเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของคุณแม่ ดังนั้น คุณแม่จึงควรทราบอาการที่เป็นสัญญาณเตือนอาการดังกล่าวก่อนสายเกินแก้

ท้องนอกมดลูกตรวจเจอกี่สัปดาห์

ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการเป็นยังไง ชวนเช็กก่อนเป็นอันตราย3

โดยปกติแล้วภาวะท้องนอกมดลูกมักเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยจะสามารถตรวจเจอหลังจากที่มีอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ขึ้นไปด้วยการอัลตราซาวด์ แต่คุณแม่มักจะรู้สึกถึงอาการของภาวะดังกล่าวในช่วงอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 12 ซึ่งส่วนมากในระยะแรกจะไม่มีอาการที่เด่นชัดนัก ทำให้คุณแม่ไม่รู้ตัวจนกระทั่งไปตรวจร่างกายกับคุณหมอตามนัดหมาย

อาการเมื่อเกิดภาวะท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการเป็นยังไง ชวนเช็กก่อนเป็นอันตราย 2

อาการท้องนอกมดลูกในระยะเริ่มต้น

  • ปวดท้องน้อย อาจปวดร้าวไปบริเวณสะดือ ทวารหนัก ต้นขา หรือไหล่
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย
  • อาเจียน วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย
  • ปวดไหล่ คอ หรือลำไส้ตรง

.

อาการท้องนอกมดลูกระดับรุนแรง (เมื่อท่อนำไข่แตก)

  • ปวดท้องรุนแรงและเฉียบพลัน
  • เลือดออกทางช่องคลอดมาก
  • หน้ามืด เป็นลม หรือช็อกจากการเสียเลือดมาก
  • หน้าซีด ผิดปกติ
ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

สาเหตุของภาวะท้องนอกมดลูก

1. ท่อนำไข่ผิดรูปจากปกติทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเคลื่อนที่ไปฝังตัวที่โพรงมดลูกได้ ปัจจัยที่ทำให้ท่อนำไข่ผิดปกติมีหลายปัจจัย เช่น

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น หนองรังไข่
  • มีรอยแผลเป็น พังผืด หรือการตีบแคบของท่อนำไข่จากการผ่าตัด
  • มีประวัติเคยเป็นภาวะนี้มาก่อน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดซ้ำ
  • การทำหมันหรือการแก้ไขการทำหมัน

.

2. การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉีด หรือ ยาบางชนิด

.

3. ความผิดปกติของฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

.

4. อายุมารดาตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนอายุน้อยกว่า

.

การวินิจฉัยภาวะท้องนอกมดลูก

  • ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
  • ตรวจภายใน
  • ตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมนรังไข่สูงกว่าปกติ (hCG)
  • ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงด้วยเครื่องตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound – TVS) เพื่อยืนยันตัวอ่อนไม่อยู่ในโพรงมดลูก

การรักษาภาวะท้องนอกมดลูก

1. ยาเคมีบำบัด ได้แก่ ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) เพื่อยับยั้งและทำลายตัวอ่อน เหมาะสำหรับรายที่อาการไม่รุนแรง ตัวอ่อนฝังในท่อนำไข่ และไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น

.

2. การผ่าตัด แบ่งได้ดังนี้

  • กรีดท่อนำไข่เพื่อเอาตัวอ่อนออก แล้วเย็บท่อนำไข่กลับคืน มีโอกาสตั้งครรภ์ซ้ำในอนาคต
  • ตัดท่อนำไข่ออกทั้งหมด เหมาะสำหรับรายที่มีเลือดออกมาก มีอาการรุนแรง หรือมีอายุมาก 

    โดยการผ่าตัดแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องและผ่าตัดแบบส่องกล้อง

.

3. การให้เลือด ในกรณีที่มีการเสียเลือดมาก และยารักษาภาวะติดเชื้อและแทรกซ้อนอื่น ๆ

การป้องกันภาวะท้องนอกมดลูก

ถึงแม้ไม่สามารถป้องกันภาวะท้องนอกมดลูกโดยตรง แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดย

  • ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
  • ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะนี้
  • ฝากครรภ์เมื่อตั้งครรภ์

.

การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะที่อันตรายและต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์และเข้าพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติใด ๆ เพื่อการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก

กังวลท้องนอกมดลูก ปรึกษา Talk to PEACH ได้เลย

ปรึกษาเรื่องเพศแบบไม่ระบุตัวตน ได้ที่แอปฯ Talk to PEACH
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

สามารถปรึกษาอาการท้องนอกมดลูกทาง เรื่องทางเพศ รวมถึงโรคเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/zC6svMq

อ้างอิง:

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศทางกาย