03 ตุลาคม 2023
เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนคงหนีไม่พ้นปัญหาสุขภาพทางกายและสุขภาพใจ หรือแม้กระทั่งสุขภาพทางเพศ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลาย ๆ ปัจจัยทำให้ความต้องการทางเพศลดลง หรือบางคนอาจไม่มีอารมณ์ทางเพศเลย จนอาจนำไปสู่ปัญหาที่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก
บทความนี้ จะพาไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุและวิธีรับมือกับปัญหาไม่มีอารมณ์ทางเพศในวัยทอง
วัยทอง (Golden Age) หมายถึง วัยที่สุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจนั้นเริ่มเกิดความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของอวัยวะในร่างกายส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน และอาการต่าง ๆ ตามมา
วัยทองเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งลักษณะอาการของวัยทองในแต่ละเพศนั้นมีความแตกต่างกัน โดยอาจอธิบายความแตกต่างของอาการวัยทองของผู้สูงวัยในแต่ละเพศ ดังนี้
วัยทองในเพศชายนั้นเกิดในผู้สูงอายุชายที่มีการสูญเสียฮอร์โมนเพศชายชื่อ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งผู้ชายวัยทองจะมีอายุอยู่ที่ช่วงประมาณ 50–55 ปี ซึ่งโดยปกติแล้วฮอร์โมนเพศชายนั้นจะสูงมากในช่วงอายุ 20–35 ปี แต่เมื่ออายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนก็จะลดน้อยถอยลง ซึ่งอาการของวัยทองในเพศชาย อาจแบ่งเป็นด้านร่างกายและจิตใจ ดังนี้
เกิดความรู้สึกซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย
วัยทองในเพศหญิง (Menopause) คือ วัยที่เพศหญิงหมดประจำเดือน หากประจำเดือนขาดเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป นั่นหมายถึงรังไข่ได้หยุดการทำงานและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง โดยอายุเฉลี่ยที่เพศหญิงไทยเข้าสู่วัยทองประมาณ 48-52 ปี ซึ่งอาการของวัยทองในเพศหญิงมีลักษณะคล้ายกับเพศชาย โดยมีอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้
มีภาวะซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด มีความวิตกกังวลง่าย ส่งผลให้อาจนอนไม่หลับ
ปัญหาการไม่มีอารมณ์ทางเพศเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ อย่าง ปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย เกิดจากระดับฮอร์โมนเพศที่ลดลงเพราะการสูญเสียฮอร์โมนเพศชาย เนื่องจากอายุที่มากขึ้น จึงทำให้ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์และอวัยวะไม่แข็งตัว ไม่สามารถไปถึงจุดสุดยอด หรือบางรายอาจไม่มีอารมณ์เพศเลย
ส่วนในเพศหญิงนั้น นอกจากการที่ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง จนส่งผลต่อความต้องการทางเพศ เมื่อเข้าสู่วัยทองอาจมีภาวะช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อ และคันในช่องคลอด ซึ่งผลจากการช่องคลอดแห้ง ทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ และไม่สามารถไปถึงจุดสุดยอดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
หรือในเพศหญิงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยและดีต่อสุขภาพ เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ปลาแซลมอน ไข่ กล้วย ดาร์กช็อกโกแลต หรือผักผลไม้ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีธาตุโบรอน (Boron) เพราะช่วยในการกักฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วย
นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในภาวะวัยทองควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง ส่งผลให้มีไขมันสะสม เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวาน ผู้มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงควรระมัดระวังและรับประทานอาหารแต่ละชนิดแต่พอดี
สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://bit.ly/48zgKpj
อ้างอิง:
ปัญหาเพศชาย
ปัญหาเพศหญิง