กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม? กินยาคุมอย่างไรถึงปลอดภัย

กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม? กินยาคุมอย่างไรถึงปลอดภัย

01 ตุลาคม 2024

Share on
กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม? กินยาคุมอย่างไรถึงปลอดภัย1

กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม? หนึ่งในคำถามที่คนใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานานมักมีข้อสงสัย ในบทความนี้ Talk To PEACH ขอพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาคุมกำเนิดให้ปลอดภัยมากที่สุด

กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม?

กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม? กินยาคุมอย่างไรถึงปลอดภัย2

สาว ๆ หลายคนกินยาคุมเพื่อการคุมกำเนิด แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องกินยาคุม เพื่อการรักษาโรคทางนรีเวชบางชนิด เช่น โรคเกี่ยวกับประจำเดือน โรคถุงน้ำในรังไข่ เป็นต้น แต่ไม่ว่าสาว ๆ จะกินยาคุมด้วยเหตุผลอะไร ก็มักจะมีความกังวลใจพ่วงมาด้วยเสมอว่า กินยาคุมนาน ๆ จะอันตรายไหม 

.

ขอตอบว่า ขึ้นอยู่กับระยะเวลาว่ากินยาคุมกำเนิดมานานแค่ไหน เพราะหากกินยาคุมต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้

กินยาคุมได้นานสุดกี่ปี?

สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมในการกินยาคุมกำเนิด นั่นคือ ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 5 ปี เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม

.

แต่หากเคยใช้ยาคุมต่อเนื่องมานาน แต่ต่อมาได้หยุดกินยาคุมมานานประมาณ 10 ปี ขึ้นไปแล้ว ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งก็จะลดลงตาม

.

กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม? กินยาคุมอย่างไรถึงปลอดภัย3

ดังนั้น จึงไม่ควรกินยาคุมต่อเนื่องเกินกว่า 5 ปี โดยควรมองหาวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น แต่หากต้องกินเพื่อรักษาอาการทางนรีเวชบางชนิดและอยู่ในการดูแลภายใต้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเป็นกังวลใจไป

กินยาคุมอย่างไรถึงปลอดภัย

  • กินยาคุมกำเนิดให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อให้ระดับฮอร์โมนคงที่
  • ควรงดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
  • แนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการกินยาคุมกำเนิด ไม่ควรเริ่มกินยาคุมด้วยตนเอง เพื่อให้แพทย์ดูแลและวางแผนเลือกชนิดของยาคุม รวมไปถึงคำนวณปริมาณของฮอร์โมนให้เหมาะกับสุขภาพร่างกายมากที่สุด
ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

กินยาคุมนาน ๆ มีลูกยากไหม?

การกินยาคุมนาน ๆ ไม่ได้ทำให้มีลูกยาก เพราะกลไกการตั้งครรภ์ คือ การที่ไข่ได้รับการผสมจากอสุจิ แต่การทำงานของยาคุมไม่ได้ไปหยุดกระบวนการการตกไข่ แต่การออกฤทธิ์ของยาคุมจะช่วยให้การปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิเป็นไปได้ยาก เช่น ทำให้ผนังมดลูกบางจนไม่สามารถฝังตัวอ่อนได้ ทำให้เกิดเมือกในมดลูกและปากมดลูกจนทำให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ เป็นต้น ดังนั้นหากหยุดกินยาคุมก็ยังสามารถกลับมาตั้งครรภ์มีลูกได้

กินยาคุมมา 10 ปี ท้องได้ไหม?

ในคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์เป็นปกติ ไม่ได้มีปัญหาการตกไข่ หรือ ภาวะแทรกซ้อนอื่นใด การรับประทานยาคุมต่อเนื่องมานานเกิน 10 ปี ก็ยังสามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้ โดยแนะนำให้หยุดกินยาคุมก่อน 1-3 เดือน เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสมดุลฮอร์โมน ก็จะกลับมาตั้งครรภ์ได้

ผลเสียของการกินยาคุมเป็นเวลานาน มีอะไรบ้าง?

กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม? กินยาคุมอย่างไรถึงปลอดภัย4

เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นลิ่มเลือดอุดตัน

การกินยาคุมต่อเนื่องนาน ๆ มักจะก่อให้เกิดความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันได้ในบางคน เพราะระดับฮอร์โมนในยาคุมที่เข้าไปสู่ร่างกานอาจทำให้ระบบไหลเวียนเลือดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ อาจทำให้เลือดมีความเหนียวและหนืดมากขึ้นจนเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

.

เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

ผลเสียในระยะยาวจากการกินยาคุมติดต่อกันนาน ๆ อย่างที่กล่าวไปว่า อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม เนื่องจากร่างกายจะได้รับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินปกติ ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื้อเต้านมเจริญผิดปกติได้

.

โดยความเสี่ยงนี้มักจะเกิดกับผู้ที่มีประวัติเสี่ยงมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว การกินยาคุมจะยิ่งไปเพิ่มความเสี่ยงนั้นให้มากขึ้นกว่าเดิม สำหรับผู้หญิงที่กินยาคุมต่อเนื่องนานหลายปีจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนที่ไม่ได้กินถึง 2-4 เท่า โดยเฉพาะคนที่เริ่มกินยาคุมมาตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย

ควรดูแลสุขภาพอย่างไรเมื่อกินยาคุมเป็นเวลานาน

ผู้ที่กินยาคุมต่อเนื่องเป็นเวลานานแนะนำว่า ควรได้รับการตรวจเต้านมอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตและคลำเต้านมด้วยตนเอง หรือ การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)โดยแพทย์ก็จะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ความเสี่ยงก็จะน้อยลง และโอกาสที่จะรักษาได้ก็จะมากขึ้นตาม

กังวลกินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม คุยกับ Talk to PEACH ได้เลย

ปรึกษาเรื่องเพศแบบไม่ระบุตัวตน ได้ที่แอปฯ Talk to PEACH
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

การกินยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานอาจทำให้หลายคนสงสัยว่า “กินยาคุมนาน ๆ อันตรายไหม?” ซึ่งคำตอบนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ในบางกรณีการใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดหรือการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายจนเสี่ยงโรคมะเร็ง แต่โดยทั่วไปแล้วยาคุมกำเนิดถือว่าปลอดภัยหากมีการใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

.

สามารถปรึกษาเรื่องการกินยาคุมกำเนิดได้ในทุกแง่มุม รวมไปถึงเรื่องสุขภาวะทางเพศอื่น ๆ กับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแบบตัวต่อตัวไม่เปิดเผยตัวตน ได้ที่: https://oci.ltd/f0m8SFV

อ้างอิง:

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศหญิง