03 มกราคม 2024
ความเชื่อที่ว่า “หลั่งนอก ยังไงก็ไม่ท้อง” หรือ “ใส่ถุงยางอนามัยหลาย ๆ ชั้น ป้องกันได้ดีกว่า” เป็นหนึ่งในความเชื่ออันดับต้น ๆ ที่หลายคนอาจคุ้นหูกันดี แต่ความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้อาจสร้างผลกระทบกับการคุมกำเนิดได้ เช่น การคุมกำเนิดไม่สำเร็จ เกิดการตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์ตามมา หรืออาจเกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมขึ้นซ้ำ ๆ
ในบทความนี้ ขอพาไปดู 10 ความเชื่อผิด ๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์เกิดจากเชื้ออสุจิของเพศชายเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ของเพศหญิงในช่วงวันตกไข่ โดยในช่วงการตกไข่ของเพศหญิง เป็นช่วงที่ไข่เดินทางมาตามท่อรังไข่ และเคลื่อนตัวเข้าไปที่ท่อรังไข่ ทำให้สามารถมาเจอกับเชื้ออสุจิจากเพศชาย ที่ถูกฉีดผ่านช่องคลอดเข้ามาในโพรงมดลูกได้
ทั้งนี้ จะมีเพียงเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุดที่สามารถเคลื่อนตัวจนไปเจอกับไข่ได้ และเชื้ออสุจิยังต้องมีความแข็งแรงในการเจาะเข้าไปในไข่เพื่อให้เกิดการแบ่งตัว โดยไข่ที่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิแล้วจะเดินทางมาฝังตัวบริเวณผนังมดลูก พร้อมที่จะพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะต่าง ๆ ต่อไป
การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นครั้งแรกหรือครั้งไหน ๆ หากไม่ได้มีการป้องกัน ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด นอกจากจะมีโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์แล้ว ยังเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย
ดังนั้น ความเชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไม่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ จึงไม่เป็นความจริง
การหลั่งอสุจิภายนอกร่างกายเพศหญิง หรือการหลั่งนอก เป็นวิธีที่หลายคนเลือกใช้ เพราะคิดว่าเป็นวิธีที่สามารถช่วยคุมกำเนิดได้ แต่แท้จริงแล้วนั้น เป็นหนึ่งในวิธีที่มีความเสี่ยงตั้งครรภ์สูงเทียบเท่ากับการหลั่งใน เพราะอาจมีอสุจิบางส่วนปนออกมากับน้ำหล่อลื่น หรือ ไม่สามารถกะจังหวะการหลั่งได้ ทำให้เกิดการหลั่งตั้งแต่ก่อนนำอวัยวะเพศออกมาจากช่องคลอดได้ทัน
ดังนั้น ความเชื่อว่าการหลั่งอสุจิภายนอกร่างกายสามารถใช้คุมกำเนิดได้ จึงไม่เป็นความจริง
หากมีการสอดใส่โดยไม่ได้ป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัย และมีการหลั่งอสุจิในร่างกายเกิดขึ้น ถือว่ามีโอกาสการตั้งครรภ์ แม้จะมีการสวนล้างช่องคลอดทันที หรือ ลุกไปปัสสาวะทันที ก็ไม่ได้ช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ใด ๆ
โดยการสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาทำความสะอาดช่องคลอดทันที ด้วยความเชื่อว่าสามารถกำจัดอสุจิภายในช่องคลอดและไม่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ ไม่เป็นความจริง ยิ่งไปกว่านั้น วิธีนี้ยังทำให้สภาพความเป็นกรด-ด่างภายในช่องคลอดไม่สมดุล จนนำไปสู่การติดเชื้อต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้
ส่วนการลุกไปปัสสาวะทันที ไม่ได้มีส่วนช่วยในการลดโอกาสการตั้งครรภ์เลยแม้แต่น้อย เพราะช่องคลอดที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ และมีการหลั่งอสุจิข้างใน กับรูเปิดของท่อปัสสาวะที่ใช้ขับถ่ายปัสสาวะ เป็นคนละส่วนกัน
ดังนั้น การลุกไปปัสสาวะหลังจากมีเพศสัมพันธ์จึงไม่สามารถช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ แต่เป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางท่อปัสสาวะเท่านั้น
การตั้งครรภ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการร่วมรักท่าไหน แล้วจึงตั้งครรภ์ เพราะไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ในท่ายืน หรือ ท่าใด ๆ แล้วไม่ได้ป้องกันด้วยการใส่ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี หรือ มีการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย ล้วนมีโอกาสในการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น
การใช้ถุงยางอนามัยผิดวิธี เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์ได้ โดยความเชื่อที่ว่า การใส่ถุงยางอนามัยหลายชั้นสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่า ไม่เป็นความจริง
เพราะการใส่ถุงยางอนามัยมากกว่าหนึ่งอัน จะทำให้ถุงยางอนามัยเสียดสีกันเองระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ จนทำให้ถุงยางอนามัยนั้นรั่วหรือฉีกขาด น้ำอสุจิและน้ำหล่อลื่นที่อยู่ภายในถุงยางอนามัยอาจรั่วหรือซึมออกมาในช่องคลอดได้
ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องใส่ถุงยางอนามัยหลายชั้น การใส่ถุงยางอนามัยเพียงหนึ่งอัน เพียงพอต่อการป้องกันแล้ว โดยจุดที่ควรให้ความสำคัญ คือ การตรวจเช็กว่าถุงยางอนามัยชำรุด มีรอยรั่ว หรือ รอยฉีกขาดก่อนการใช้งานหรือไม่ ใส่ถุงยางอนามัยถูกด้านหรือไม่ และควรเลือกถุงยางอนามัยให้ถูกไซซ์ด้วยนั่นเอง
การใส่ถุงยางอนามัยผิดด้าน ถอดออกมากลับด้าน แล้วใส่ถุงยางอนามัยอันเดิมต่อ อาจทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ลดลง เพราะถุงยางอนามัยได้เปื้อนน้ำหล่อลื่นและน้ำอสุจิไปแล้ว ดังนั้น ก่อนเปลี่ยนไปใช้ถุงยางอนามันอันใหม่ ควรไปล้างมือให้สะอาด และดูด้านที่ถูกต้องของถุงยางอนามัยก่อนใส่
หลายคนมักเก็บถุงยางอนามัยไว้ในรถหรือในกระเป๋าสตางค์ ซึ่งเป็นที่ที่หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าการเก็บในลักษณะนี้อาจทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมสภาพลงและลดประสิทธิภาพในการป้องกันได้ด้วย เนื่องจากถุงยางอนามัยที่เก็บอยู่ในรถและในกระเป๋าสตางค์มักมีโอกาสโดนความร้อนสูงเป็นระยะเวลานาน
การเลือกถุงยางอนามัยไม่พอดีกับขนาดองคชาต ทั้งคับไปและหลวมไป อาจทำให้ถุงยางอนามัยฉีกขาดหรือหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และนำไปสู่การตั้งครรภ์และติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น ขนาดของถุงยางอนามัยที่เลือกใช้จึงมีความสำคัญมาก
แนะนำว่าให้ซื้อมาลองหลาย ๆ ไซซ์ เนื่องจากถุงยางอนามัยแต่ละยี่ห้ออาจมีไซซ์ที่ไม่เท่ากัน
ความเชื่อดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากการถึงจุดสุดยอดของเพศหญิงเป็นคนละเรื่องกับการตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่ามีเพศสัมพันธ์แล้วฝ่ายหญิงไม่ถึงจุดสุดยอด แต่ฝ่ายชายมีการหลั่งอสุจิเกิดขึ้น ก็ถือว่ามีโอกาสในการตั้งครรภ์
การมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างมีประจำเดือน หรือ ที่หลายคนเรียกว่า การฝ่าไฟแดง นั้น มีโอกาสในตั้งครรภ์ได้ หากไม่ได้มีการป้องกันด้วยถุงยางอนามัย หรือใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วย เนื่องจากหากมีเพศสัมพันธ์ในวันใกล้ประจำเดือนหมด และมีการหลั่งอสุจิเกิดขึ้น อสุจินั้นจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในช่องคลอดได้นานถึง 72 ชั่วโมง ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ในวันใกล้หมดประจำเดือน โอกาสการตั้งครรภ์มีสูง
หากมีปัญหาสุขภาพเพศ สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอปฯ Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/J6ehusK
อ้างอิง:
ปัญหาเพศชาย
ปัญหาเพศหญิง