หนังหุ้มปลายตีบ อันตรายไหม ชวนดูอาการหนังหุ้มปลายตีบ พร้อมวิธีรักษา

หนังหุ้มปลายตีบ อันตรายไหม ชวนดูอาการหนังหุ้มปลายตีบ พร้อมวิธีรักษา

12 มิถุนายน 2024

Share on
หนังหุ้มปลายตีบ อันตรายไหม ชวนดูอาการหนังหุ้มปลายตีบ พร้อมวิธีรักษา1

นอกจากสารพัดปัญหาที่เกี่ยวกับน้องชาย อย่าง น้องชายไม่ขัน หลั่งเร็ว หรือ หลั่งช้า แล้ว อีกหนึ่งปัญหากวนใจของผู้ชายหลายคน ที่เป็นปัญหาใหญ่ นั่นคือปัญหาหนังหุ้มปลายตีบ 

ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ โดยอาการดังกล่าวอาจไม่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต หรือ อาจส่งผลกระทบ เช่น รู้สึกเจ็บปวดหรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการปัสสาวะได้

ในบทความนี้ Talk to PEACH จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนี้ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงวิธีป้องกันและการรักษา

หนังหุ้มปลายตีบ เกิดจากอะไรได้บ้าง

หนังหุ้มปลายตีบ หรือ ภาวะ Phimosis นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทหลักคือ

ภาวะหนังหุ้มปลายตีบตั้งแต่เกิด (Congenital Phimosis)

โดยภาวะนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เกิดกับเด็กผู้ชาย จะมีหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศที่ไม่สามารถรูดขึ้นลงได้ตั้งแต่เกิด พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ซึ่งอาการจะดีขึ้นเองเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์

ภาวะหนังหุ้มปลายตีบที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Phimosis)

  1. เกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้อบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ หรือการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียหรือเชื้อรา อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้
  2. การบาดเจ็บหรือการฉีกขาด ซึ่งการมีรอยแผลเป็นหรือการฉีกขาดของหนังหุ้มปลาย อาจทำให้เกิดการตีบในภายหลัง
  3. การดูแลสุขอนามัยไม่ดี แน่นอนว่าการไม่รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคและทำให้เกิดการตีบ
  4. โรคทางผิวหนัง เช่น Lichen sclerosus หรือโรคผิวหนังอื่น ๆ อาจทำให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเกิดการอักเสบและตีบได้

ทั้งนี้ภาวะหนังหุ้มปลายตีบในเคสที่เกิดขึ้นในภายหลัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น บริเวณปลายอวัยวะเพศบวมแดง มีอาการเจ็บปวดมากขึ้น และก่อให้เกิดแผลเรื้อรัง 

หนังหุ้มปลายตีบ เป็นยังไง อาการที่สังเกตได้

หนังหุ้มปลายตีบ อันตรายไหม ชวนดูอาการหนังหุ้มปลายตีบ พร้อมวิธีรักษา2
  1. ไม่สามารถรูดหนังหุ้มปลายขึ้นลงได้ โดยหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่สามารถรูดขึ้นลงเพื่อเผยหัวอวัยวะเพศได้แบบคนทั่วไป
  2. รู้สึกปวดหรือไม่สบายตัว เมื่อต้องรูดหนังหุ้มปลายลงหรือขณะมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  3. อาการบวมและแดง เนื่องจากการอักเสบหรือการติดเชื้อ
  4. มีสารคัดหลั่งไหลออกมา หรือน้ำเหลืองออกจากบริเวณหนังหุ้มปลาย เนื่องจากการอักเสบหรือการติดเชื้อ
  5. ปัสสาวะได้ยาก  เช่น ปัสสาวะเป็นฝอยหรือมีการแยกทางของฝอยปัสสาวะ
  6. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือขณะปัสสาวะ
ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

หนังหุ้มปลายตีบ วิธีรักษามีอย่างไรบ้าง

ทำไมหนังหุ้มปลายถึงตีบ ถึงควรใส่ใจดูแลและรักษา เพราะว่าหากไม่ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่องจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และอาจจะต้องสูญเสียองคชาตไปถาวรได้ และนี่คือแนวทางการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็น

1. รักษาด้วยยา

เช่น การทาครีมสเตียรอยด์บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เนื่องจากช่วยลดการอักเสบและช่วยให้หนังหุ้มปลายยืดหยุ่นมากขึ้น โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์

รวมถึงการทาน ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรา หากมีการติดเชื้อที่บริเวณหนังหุ้มปลาย แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรามารักษา

2. รักษาทางกายภาพ

ไม่ว่าจะเป็นการยืดหนังหุ้มปลาย ช่วยให้หนังหุ้มปลายยืดหยุ่นและรูดขึ้นลงได้ดีขึ้น ควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์

3. รักษาด้วยการผ่าตัด

หากมีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง การผ่าตัดก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยได้ นั่นคือการผ่าตัดขยายหนังเป็นการผ่าตัดเพื่อขยายหนังหุ้มปลายโดยการทำแผลเล็ก ๆ ที่หนังหุ้มปลาย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัดตัดหนังหุ้มปลายทั้งหมด

4. ดูแลสุขอนามัย อย่างสม่ำเสมอ

รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศเป็นสิ่งสำคัญ ควรใส่ใจเรื่องความสะอาด และหลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือสารเคมีที่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง

หนังหุ้มปลายตีบ หายเองได้ไหม

หนังหุ้มปลายตีบ หรือภาวะ Phimosis สามารถหายเองได้ในบางกรณี โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หรือเคสที่เกิดขึ้นตั้งแต่เกิด หนังหุ้มปลายจะค่อย ๆ ยืดหยุ่นและสามารถรูดขึ้นลงได้เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น แต่สำหรับผู้ใหญ่หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

ทุกปัญหาน้องชาย ปรึกษาได้ที่ Talk to PEACH 

ปรึกษาเรื่องเพศแบบไม่ระบุตัวตน ได้ที่แอปฯ Talk to PEACH
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/LRPUIev

อ้างอิง: 

ปัญหาเพศชาย

สุขภาพเพศทางกาย