ตุ่ม PPE คืออะไร ดูยังไง สัญญาณเตือนทางผิวหนังเกี่ยวกับเชื้อ HIV

ตุ่ม PPE คืออะไร ดูยังไง สัญญาณเตือนทางผิวหนังเกี่ยวกับเชื้อ HIV

11 มิถุนายน 2024

Share on
ตุ่ม PPE คืออะไร ดูยังไง สัญญาณเตือนทางผิวหนังเกี่ยวกับเชื้อ HIV1

ตุ่ม PPE หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า Pruritic Papular Eruption in HIV เป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้ในผู้ป่วย HIV หรือ ที่เรารู้จักกันดีและเรียกกันว่า ตุ่มเอดส์ นั่นเอง ซึ่งตุ่มนี้สามารถรักษาได้ 

โดยในบทความนี้ ขอพาไปทำความรู้จักกับอาการ พร้อมชวนดูวิธีการดูแลรักษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เราไม่ควรมองข้าม 

ตุ่ม PPE คือโรคอะไร?

PPE คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV เป็นตุ่มที่ขึ้นได้ทั่วร่างกาย มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดงมีลักษณะคล้ายกับผื่น สามารถเกิดอาการแทรกซ้อนได้หากไม่รักษาอย่างถูกวิธี

สาเหตุของการเกิด ตุ่ม PPE 

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ที่ป่วยเป็นตุ่มดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคโดนตรง แต่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องการจากติดเชื้อ HIV แบ่งสาเหตุหลัก ๆ ได้จาก ในร่างกายมีระดับ CD4 ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอและเกิดตุ่มได้ง่าย เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถรับมือกับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ได้เลย

ตุ่ม PPE ดูยังไง

ตุ่ม PPE คืออะไร ดูยังไง สัญญาณเตือนทางผิวหนังเกี่ยวกับเชื้อ HIV2

ตุ่ม PPE ลักษณะที่สังเกตได้จะเป็นตุ่มนูนสีแดงหรือสีเนื้อ คล้ายตุ่มแมลงกัดต่อย มีระยะห่างเท่า ๆ กัน ขนาดของตุ่มจะกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร 

ซึ่งหากถามว่าตุ่มจะขึ้นตรงไหน? บอกได้ว่าตุ่มนี้สามารถขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย แต่มักพบบริเวณนอกผ้าร่ม เช่น ใบหน้า แก้ม แขน ขา รวมถึงบริเวณคอ ด้วย 

แล้ว ตุ่ม PPE คันไหม?

ตุ่มดังกล่าวมักจะมีอาการคันร่วมด้วย อาการคันนี้เป็นหนึ่งในลักษณะสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวและคันจนอยากจะเกาตุ่มดังกล่าว ซึ่งการเกาตุ่มเหล่านี้อาจนำไปสู่การติดเชื้อแทรกซ้อนได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

ตุ่ม PPE อาการที่สังเกตได้

ตุ่ม PPE คืออะไร ดูยังไง สัญญาณเตือนทางผิวหนังเกี่ยวกับเชื้อ HIV3
  1. มีอาการคันและบวมบริเวณตุ่ม โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า
  2. ผื่นสะเก็ดหนาและรังแค บริเวณที่มีตุ่มอาจมีผื่นสะเก็ดหนาและรังแคมาก โดยเฉพาะในบริเวณศีรษะและคิ้ว
  3. อาจทำให้เกิดต่อมไขมันอาจอักเสบ และหากเกามากอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
  4. ตุ่มเปลี่ยนสี เมื่อเริ่มหาย ตุ่มนูนแดงจะกลายเป็นสีคล้ำขึ้น
  5. อาการทั่วไป ผู้ป่วยอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว 
ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

ตุ่ม PPE ระยะแรกที่ควรทราบ

สามารถแบ่งระยะของอาการได้ดังนี้

1. ระยะแรก (ระยะก่อนเกิดตุ่ม)

เริ่มจากอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดข้อ อาจมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย แต่ยังไม่เป็นตุ่มชัดเจน

2. ระยะที่สอง (ระยะเกิดตุ่ม)

เริ่มปรากฏตุ่มขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจขยายไปที่ใบหน้า แขน ขา และรอบปาก มักมีระยะห่างเท่า ๆ กัน และมีอาการคันในบริเวณที่เกิดตุ่ม ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและคันจนอยากเกาอยู่ตลอดเวลา และอาจมีผื่นสะเก็ดหนาและรังแคร่วมด้วย

3. ระยะการฟื้นตัว (ระยะตุ่มเริ่มหาย)

ตุ่มนูนแดงจะเริ่มจางลงและกลายเป็นสีคล้ำขึ้น และอาจมีรอยแผลเป็นหรือรอยคล้ำที่เกิดจากตุ่มนูนก่อนหน้านี้

การรักษาตุ่ม PPE ที่ควรรู้

ตุ่ม PPE คืออะไร ดูยังไง สัญญาณเตือนทางผิวหนังเกี่ยวกับเชื้อ HIV4

สำหรับแผนการรักษาตุ่มนั้น ต้องรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งที่จะช่วยรักษาร่างกายให้แข็งแรงนั่นคือการรับประทานยาต้านไวรัส HIV อย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมเชื้อในร่างกาย ทั้งนี้การรักษาอาการดังกล่าว สามารถทำได้ ดังนี้

1. บรรเทาอาการคัน

ใช้ยาทาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการคัน เช่น ครีมหรือยาทาที่มีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์ หรือยาต้านฮิสตามีน

2. ดูแลผิวหนัง

เช่น รักษาความสะอาด ล้างบริเวณที่มีตุ่มผื่นด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน รวมถึงหลีกเลี่ยงการเกา เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรีย

3. การดูแลทั่วไป

ไม่ว่าจะเป็นพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับสารพิษและฟื้นตัวเร็วขึ้นส่วนคำถามที่ว่าแล้วตุ่ม เอดส์จะหายไหม หายได้อย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตามคำแนะนำของแพทย์และการกินยาอย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยให้หายได้เช่นกัน

การป้องกันไม่ให้เกิดตุ่ม PPE

การป้องกันไม่ให้เกิดตุ่ม PPE โดยเฉพาะในผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือมีความเสี่ยงในการเกิดตุ่มสามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำด้านการป้องกันและการรักษา ดังนี้

1. ทานยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ

รักษาระดับ CD4 ให้สูง การใช้ยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอช่วยเพิ่มระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงในการเกิดตุ่ม และที่สำคัญคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ติดตามผลการรักษาอย่างเคร่งครัด

2. การป้องกันการติดเชื้อ

ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดหรือใช้เจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

และหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

3. ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

ไม่ต้องอาย หากกังวลใจเรื่อง ตุ่ม PPE ปรึกษา Talk to PEACH ได้เลย

ปรึกษาเรื่องเพศแบบไม่ระบุตัวตน ได้ที่แอปฯ Talk to PEACH
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/NPFYBGB

สุขภาพเพศทางกาย

โรคติดต่อ