09 มกราคม 2025
เชื่อว่าคงมีสาว ๆ หลายคนที่ยังไม่กล้ามีอะไรกับแฟน มีความวิตกกังวลสารพัด ทั้งกลัวท้อง กลัวเจ็บ กลัวการสอดใส่ ในบทความนี้ Talk to PEACH จึงอยากชวนมาดูว่า โรคกลัวการมีเพศสัมพันธ์เป็นอย่างไร หากมีความกังวลจนกลัวว่าจะกระทบความสัมพันธ์ในระยะยาว ควรแก้ปัญหาอย่างไรดี
.
โรคกลัวการมีเพศสัมพันธ์ (Erotophobia) คืออะไร โรคกลัวการมีเพศสัมพันธ์ คือ ความหวาดกลัวเกี่ยวกับเรื่องเพศมากกว่าปกติ อาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน เป็นภาวะที่มีความซับซ้อนและอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุจนส่งผลกระทบกับชีวิตรักหลายด้านโดยเฉพาะทำให้ไม่กล้ามีอะไรกับแฟนของตัวเอง ส่งผลให้รู้สึกเจ็บเวลาทำกิจกรรมบนเตียงหรือทำให้เกิดอาการจิ๋มล็อกได้
.
สิ่งสำคัญที่เราควรรู้คือ โรคนี้ไม่ใช่ความรู้สึกรังเกียจเรื่องเพศ กิจกรรมทางเพศ หรือ ความใกล้ชิดทางกายทั่วไป แต่เป็นความกลัวในระดับที่ทำให้เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล และสร้างความตึงเครียดในความสัมพันธ์ได้อย่างแท้จริง
.
คนที่มีอาการของโรคนี้จะมีความกลัวเมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์มากกว่าปกติ จนอาการเหล่านี้ทำให้เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล และเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นติดต่อกันนานต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน อาจสังเกตได้จากสัญญาณสำคัญสองอย่าง คือ
.
.
หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา คนที่เป็นโรคมีแนวโน้มว่าจะหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์เชิงโรแมนติกแบบคู่รัก และอาจถึงขั้นหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์รูปแบบอื่นด้วย
.
นอกจากนี้หากมีอาการกลัวรูปแบบเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วย ก็อาจมีแนวโน้มว่าเรามีภาวะกลัวการมีเพศสัมพันธ์และเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่กล้ามีอะไรกับแฟน
.
.
.
ความรู้สึกไม่กล้ามีอะไรกับแฟนอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
การถูกล่วงละเมิดทางเพศและเคยได้รับบาดแผลทางใจอย่างรุนแรงในอดีต ทำให้มีแนวโน้มเป็นโรคกลัวการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าคนทั่วไป แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศจะกลัวการมีเพศสัมพันธ์
.
คนที่เคยผ่านเหตุการณ์บอบช้ำร้ายแรงประเภทอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรควิตกกังวล รวมถึงกลัวการมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน
.
แนวคิดทางสังคมและศาสนามีส่วนทำให้เกิดความรู้สึกกลัวและกังวลเมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ขาดความมั่นใจและรู้สึกผิดเมื่อต้องมีความใกล้ชิดทางกายในรุปแบบลึกซึ้งระหว่างคู่รัก
.
บางครั้งสาเหตุที่เราไม่กล้ามีอะไรกับแฟนอาจไม่ได้เกิดจากกลัวการทำกิจกรรมบนเตียง แต่เกิดจากความกังวลเรื่องสมรรถภาพทางเพศของตัวเองว่าอาจทำได้ไม่ดี ไม่สามารถสร้างความสุขให้กับอีกฝ่ายได้ ความกังวลนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและหญิง ส่งผลต่อการแสดงออกทางร่างกายและความรู้สึกทางเพศด้วย
.
บางคนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับด้านร่างกาย อย่างกลัวว่าการมีเซ็กซ์จะทำให้เจ็บ กลัวท้อง กลัวเป็นโรคติดต่อ ซึ่งความวิตกกังวลด้านร่างกายเหล่านี้สามารถนำไปสู่อาการกลัวการมีเพศสัมพันธ์ได้
.
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นอาจรู้สึกกลัวการมีเพศสัมพันธ์หรือรู้สึกกลัวเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ อาจเนื่องมาจากทัศนคติและสังคมว่ากลุ่มคนช่วงวัยสูงอายุไม่ควรมีความรู้สึกดังกล่าว เรียกได้ว่าเป็นโรคกลัวความรู้สึกทางเพศตามวัย
.
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจภาวะของแต่ละบุคคลก่อนว่าทำไมเราจึงไม่กล้ามีอะไรกับแฟน หากเกิดจากสาเหตุทางกาย เช่น มีอาการเจ็บป่วย ช่องคลอดอักเสบ หรือน้องสาวอยู่ในภาวะไม่พร้อม ก็ควรปรึกษาแพทย์และทำการรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะสมบูรณ์พร้อมมากที่สุด เพื่อลดความกังวลและสร้างความมั่นใจเมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์
.
แต่หากความกลัวและความกังวลเป็นอาการที่เกิดจากสภาวะทางจิตใจ การเข้ารับการบำบัด พูดคุย และปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเป็นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด โดยนักบำบัดจะเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อให้แก้ไขปัญหาเฉพาะของแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ก้าวผ่านความกลัว มองเรื่องเซ็กซ์และความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักเป็นเรื่องปกติ ทำให้ร่างกายและจิตใจค่อย ๆ เปิดรับการทำกิจกรรมทางเพศหรือการสัมผัสใกล้ชิดรูปแบบอื่นมากขึ้น
.
บุคคลที่มีส่วนสำคัญในการรักษาก็คือคู่รัก อีกฝ่ายควรมีความเข้าใจ อดทน และให้เวลาในการเยียมยารักษาความกลัวนี้ รวมถึงค้นหาสาเหตุและพยายามเลี่ยงสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดความกลัว หากคนรักพร้อมที่จะรับฟัง เข้าอกเข้าใจ ก็จะช่วยให้การรักษาอาการกลัวการมีเพศสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางที่ดีมากยิ่งขึ้น
.
อาการกังวลและกลัวความรู้สึกเจ็บเวลาสอดใส่เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับหลายคน วิธีแก้ไขคือลองเปิดใจสื่อสารกับคนรักอย่างตรงไปตรงมาเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ และความมั่นคงทางอารมณ์ ก่อนทำกิจกรรมบนเตียงควรเล้าโลมมากพอเพื่อลดความเจ็บปวด อาจใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป หาตัวช่วยอย่างเจลหล่อลื่นและของเล่นกระตุ้นอารมณ์ หากเจ็บจนทนไม่ไหวลองใช้ “คำปลอดภัย” เพื่อส่งสัญญาณให้แฟนรู้ หรือให้ฝ่ายหญิงคุมเกมดูบ้างเพื่อลดความกลัวและความกังวล
.
ไม่กล้ามีอะไรกับแฟนเพราะหุ่นไม่ดี อาจกังวลว่าตัวเองอ้วนไป ผอมไป สิ่งเหล่านี้ คือ ความกังวลทางกายที่สามารถนำไปสู่อาการของโรคกลัวการมีเพศสัมพันธ์ได้ ทางแก้ที่ดีที่สุดคือการพูดคุยเรื่องความกังวลกับคนรักอย่างตรงไปตรงมา โดยคนรักควรเสริมสร้างความมั่นใจให้กับฝ่ายที่กังวลเพื่อลดความรู้สึกเชิงลบที่พวกเธอมีต่อตัวเอง
.
นอกจากนี้การแก้ไขด้วยการปรับทัศนคติก็มีส่วนสำคัญ ควรสร้างความมั่นใจและให้ความรักกับร่างกายของตัวเอง ยอมรับในสิ่งที่เป็น อาจเริ่มจากการดูแลตัวเองเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย หรือหัดแต่งหน้า เมื่อเรารู้สึกดีกับร่างกายของตัวเอง ความกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ก็จะลดลง
.
กลัวท้อง กลัวพลาด เป็นอีกหนึ่งความกังวลที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรมบนเตียง ทางที่ดีที่สุดคือการมีเซ็กซ์อย่างปลอดภัย (Safe Sex) เพื่อลดความกังวล เช่น การสวมถุงยางอนามัยถูกวิธี การกิน หรือ ฉีดยาคุมกำเนิดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความรู้สึกมั่นใจและความรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องมีเซ็กซ์ ก็จะช่วยลดความกังวลลงได้
.
ความกลัว ความกังวล จนทำให้ไม่กล้ามีอะไรกับแฟนอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทางที่ดีเราควรหาสาเหตุและแก้ไขก่อนกลายเป็นโรคกลัวการมีเพศสัมพันธ์จนอาจส่งผลกระทบต่อตัวเองและคนรักในระยะยาวจะดีที่สุด
สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพศในทุกแง่มุมกับ Talk to PEACH ปรึกษาส่วนตัวได้ทันที ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://oci.ltd/Uhu94kt
.
อ้างอิง
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศทางใจ