16 มิถุนายน 2023
อาการคันน้องสาว อาจทำให้สุภาพสตรีหลายคนเป็นกังวล รู้สึกไม่สบายตัว หรือหมดความมั่นใจไปเลย เพราะบางครั้งอาการคันยุบยิบหรือคันอย่างรุนแรงมาพร้อมกับตกขาวหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์
แล้วอาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด? วันนี้ ‘Talk to PEACH’ จะพามาหาคำตอบ และชี้แนวทางป้องกัน รักษาอาการคันอวัยวะเพศ พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย!
การคันน้องสาว หรือ อาการคันอวัยวะเพศหญิง (Vaginal Itching) หมายถึง อาการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศหญิง อาจคันภายนอก ภายในช่องคลอด หรือทั้งสองส่วน
ยกตัวอย่างบริเวณที่เกิดการคันภายนอก เช่น บริเวณเนินหัวหน่าว ปุ่มคลิตอริส บริเวณขนอวัยวะเพศ แคมใหญ่และแคมเล็ก เป็นต้น ส่วนการคันภายในช่องคลอดมักเกิดบริเวณปากช่องคลอดและช่องปัสสาวะ
นอกจากความคันแล้วอาจเกิดอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ตกขาวผิดปกติ และกลิ่นไม่พึงประสงค์ บางรายอาจเกิดแผลอักเสบจากการเกา หรือบางรายอาจรุนแรงจนเจ็บแสบเมื่อปัสสาวะ อาการคันน้องสาวเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก เชื้อราในช่องคลอดและปีกมดลูกอักเสบ จึงไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!
การคันอวัยวะเพศหญิงไม่ได้หมายถึงการติดเชื้อเสมอไป มาดูกันเลยว่ารูปแบบของการอวัยวะเพศหญิงมีลักษณะใดบ้าง?
การคันน้องสาวอาจมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวของสาว ๆ ได้ เช่น โรคสะเก็ดเงิน และโรคมะเร็งปากช่องคลอด
การคันจุดซ่อนเร้นแบบไม่ติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การโกนขนอวัยวะเพศ การใส่กางเกงในรัดแน่นหรืออับชื้น สารเคมีตกค้างบนกางเกงใน หรือแม้แต่ความเครียดก็ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องลงและติดเชื้อหรือเกิดอาการคันได้เช่นกัน
การคันอวัยวะเพศแบบติดเชื้อสามารถสังเกตได้เบื้องต้นจากตกขาว อย่างการติดเชื้อรา ตกขาวจะมีความขาวหนืดคล้ายกับโยเกิร์ต หรือจับตัวเป็นก้อนสีขาว แถมมีอาการคันร่วมด้วย แต่ถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย ตกขาวจะมีกลิ่นเหม็นหรือคาว พร้อมกับอาการแสบคัน หากปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์อาจรู้สึกเจ็บแสบ
หากเป็นกรณีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างโรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ผู้ป่วยมักจะคันอวัยวะเพศและมีแผลบริเวณภายนอกอวัยวะเพศ ส่วนตกขาวจะมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เมื่อปัสสาวะอาจแสบขัดหรือปวดท้องน้อยได้
สำหรับสาเหตุของอาการคันบริเวณจุดซ่อนเร้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ปัจจัยทางกายภาพ สารเคมี และโรคประจำตัว ดังนั้น มาเช็กกันเลยว่าอาการคันน้องสาว เกิดจากอะไรได้บ้าง?
การติดเชื้อราหรือพยาธิมักเป็นบริเวณปากช่องคลอดและภายในช่องคลอด บางรายอาจมีอาการแสบร้อนและตกขาวไหลเป็นก้อนออกมา
การติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดชนิดไม่ดีและชนิดดี ทำให้คันระคายและมีตกขาวกลิ่นเหม็น สีเทา หรือเป็นฟองขึ้น
เมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันอาจเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อันเป็นต้นตอของปัญหาคันจุดซ่อนเร้น เช่น โรคหนองในเทียม เริมที่อวัยวะเพศ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจมีตกขาวสีเหลืองหรือสีเขียวร่วมด้วย
โรคผิวหนังบางชนิดส่งผลให้คันน้องสาวได้ บางรายอาจมีผื่นแดงขึ้นบริเวณช่องคลอดด้วย
โรคประจำตัวอย่าง ‘สะเก็ดเงิน’ มีอาการ คือ ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศแดง เกิดการแสบร้อนและคัน บางรายอาจเจ็บปวดด้วย
การคันน้องสาวอาจเป็นสัญญานเตือนโรคมะเร็งปากช่องคลอด โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บบริเวณช่องคลอดและเลือดออกร่วมด้วย
เมื่อสาว ๆ เข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเพศหญิงอย่าง ‘เอสโตรเจน’ จะลดลง นำมาสู่อาการช่องคลอดแห้งเนื่องจากเมือกที่เคลือบน้อยลง อาการคันจึงตามมานั่นเอง
การโกนขนน้องสาวอาจทำให้รู้สึกคันเมื่อมีขนงอกใหม่ ดังนั้น หากไม่มั่นใจและต้องการกำจัดขนอวัยวะเพศ แนะนำให้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการเล็มขนอวัยวะเพศ แวกซ์ หรือเลเซอร์จะช่วยป้องกันอาการคันได้
ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงความจำเป็นในการกำจัดขนอวัยวะเพศด้วย เนื่องจากหน้าที่ของขนบริเวณดังกล่าวมีความสำคัญ คือช่วยป้องกันไม่ให้เสียดสีกับตรงกับเสื้อผ้าโดยตรง และรองรับแรงเสียดสีเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่หากจำเป็นต้องกำจัด ควรคำนึงถึงความสะอาดและการใช้อุปกรณ์ให้ถูกวิธีร่วมด้วย
ความเครียดมีโอกาสทำให้สาว ๆ คันช่องคลอดได้ แต่มีเปอร์เซ็นต์พบน้อย โดยเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง การติดเชื้อหรืออาการคันจะสามารถเกิดได้ง่าย
การทำความสะอาดภายนอกหรือภายในน้องสาวด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสมุนไพรอาจเกิดการระคายเคือง หรือเกิดการทำลายแบคทีเรียชนิดดีที่เป็นตัวควบคุมจำนวนเชื้อราภายในช่องคลอด
เมื่อสวมใส่กางเกงหรือกางเกงในที่รัดแน่นจนเกินไปจะทำให้เกิดการเสียดสีกับผิวหนังได้ นอกจากนี้การใส่กางเกงในที่อับชื้นจะส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
การเล่นกีฬาบางชนิดอาจจำเป็นต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นทำให้เกิดดารเสียดสีกับน้องสาว หรือเมื่อออกกำลังกายเหงื่อออกหมักหมมทำให้เชื้อราบางชนิด เช่น เดอมาโทไฟท์ (Dermatophyte) เจริญเติบโต และก่อให้เกิดอาการคันได้
จุดซ่อนเร้นเป็นบริเวณที่มีความบอบบาง ดังนั้นอาจเกิดอาการแพ้ส่วนประกอบของผ้าอนามัยได้ง่าย
เช่นเดียวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดน้องสาวโดยตรง การใช้สารเคมีเพื่อทำความสะอาดกางเกงในอาจตกค้าง และไปทำลายแบคทีเรียชนิดดีอย่าง ‘Lactobacilli’ จนขาดสมดุลและเกิดอาการคัน ร่วมกับตกขาวได้
การกินยาปฏิชีวนะอาจทำลายแบคทีเรียชนิดดี จนทำให้เสียสมดุลกับแบคทีเรียชนิดไม่ดี จึงติดเชื้อและเกิดความคันระคาย
เมื่อเข้าใจแล้วว่าอาการคันน้องสาวมีลักษณะอย่างไรและเกิดจากปัจจัยใดได้บ้าง เราจะพาไปดูวิธีการป้องกันการคันอวัยวะเพศในเบื้องต้น พร้อมแนะนำการคันน้องสาว วิธีแก้เป็นอย่างไร
มาเริ่มกันที่วิธีการป้องกัน ปิดประตูไม่ให้เสี่ยงติดเชื้อหรือมีอาการระคายเคืองน้องสาว อย่างแรกต้องไม่สวมใส่กางเกงหรือกางเกงในที่รัดรูปจนเกินไป แล้วหันมาเลือกตัวที่เนื้อผ้าสามารถระบายอากาศได้ดีแทน และไม่ใช้ของส่วนตัวอย่างกางเกงในหรือผ้าเช็ดตัวกับผู้อื่น
ข้อต่อมาคือการหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะหรือการสวนล้างช่องคลอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศทั้งก่อนและหลัง เลี่ยงผ้าอนามัยชนิดสอด ให้เล็มขนอวัยวะเพศแทนการโกน นอกจากนี้การทานโยเกิร์ตยังช่วยเรื่องความสมดุลของกรดด่างในช่องคลอดได้อีกด้วย
ส่วนวิธีการรักษาเมื่อมีอาการคันน้องสาว นั้นไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงพบแพทย์เพื่อหาต้นตอของปัญหาเพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี โดยตัวยาที่ใช้ในการรักษามีหลายกลุ่ม เช่น ยารักษาอาการคันอวัยวะเพศจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) คลินดามัยซิน (Clindamycin) หากเป็นการติดเชื้อราจะทานยาฟลูโคนาโซล หรือทายาภายนอก เช่น ไมโคนาโซล (Miconazole) และ ไทโอโคนาโซล (Tioconazole) นอกจากนี้ยังมียาเหน็บช่องคลอด อย่าง ยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole)
สาว ๆ ที่กำลังเผชิญกับอาการคันน้องสาวอย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายหรือการติดเชื้อ ทั้งนี้ไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด เนื่องจากอาจไม่ได้รักษาตรงกับต้นตอของปัญหาอย่างแท้จริงและอาจส่งผลข้างเคียงได้
ดังนั้น เราพร้อมพูดคุยและเป็นที่ปรึกษา ด้วยการปรึกษาเรื่องสุขภาพเพศกับนักเพศวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศจาก Talk to PEACH เราพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คุณปรึกษาทุกแง่มุมของเรื่องเพศได้แบบไม่ต้องเปิดเผยตัวตน
สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: http://bit.ly/417az7i
อ้างอิง:
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศทางกาย
สุขภาพเพศหญิง