ชวนเช็ก 7 สัญญาณความสัมพันธ์ Toxic ที่ไม่ควรไปต่อ

ชวนเช็ก 7 สัญญาณความสัมพันธ์ Toxic ที่ไม่ควรไปต่อ

25 ตุลาคม 2024

Share on
ชวนเช็ก 7 สัญญาณความสัมพันธ์ Toxic ที่ไม่ควรไปต่อ1

ความรักที่ดี คือ การมอบความปรารถนาดี ความเอื้อเฟื้อ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน แต่ในบางความสัมพันธ์กลับกลายเป็นเหมือนยาพิษ ที่ทำให้เราเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ หรือ ที่เรียกว่า “ความสัมพันธ์ Toxic” นั่นเอง

.

แล้วเรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ Toxic หรือไม่ จะรู้ตัวได้และมีวิธีแก้ไขอย่างไร Talk To PEACH พาไปเช็กกันในบทความนี้

เลือกอ่านได้ตามหัวข้อที่สนใจ

ความสัมพันธ์ Toxic คืออะไร ชวนเช็ก 7 สัญญาณ Toxic

ชวนเช็ก 7 สัญญาณความสัมพันธ์ Toxic ที่ไม่ควรไปต่อ2

ความสัมพันธ์ Toxic คือ ความสัมพันธ์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่ายแสดงพฤติกรรมมุ่งร้ายต่อกันมากกว่าความรัก ความเอื้ออาทร และความเมตตาต่อกัน

.

หลายครั้งความสัมพันธ์รูปแบบนี้อาจสังเกตได้ยาก เนื่องจากมีความละเอียดอ่อน และบางครั้งอาจเกิดในคู่รักที่คบกันมานาน แม้จะเกิดสัญญาณ Red Flag ก็ยังไม่หาทางออกร่วมกันจนนำไปสู่ความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล และอารมณ์โมโหรุนแรง

.

ดังนั้น ลองมาดูกันว่าสัญญาณความรักแบบ Toxic คืออะไร แล้วจะสังเกตได้อย่างไร ว่าแฟนแบบไหนที่กำลัง Toxic ใส่เรา และเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ควรไปต่อ

1. ขาดการสนับสนุนซึ่งกันและกัน

ความสัมพันธ์ที่ดีควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความปรารถนาดี และอยากเห็นอีกฝ่ายประสบความสำเร็จทุกด้านของชีวิต ในขณะที่ความสัมพันธ์ Toxic กลับกลายเป็นอีกแบบคือ ต่างฝ่ายต่างมองว่าการใช้ชีวิตคือการแข่งขัน ไม่มีการให้กำลังใจ การสนับสนุน หรือ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และฝ่ายที่ทำพฤติกรรม Toxic จะสนใจแต่สิ่งที่ตัวเองต้องการเท่านั้น

.

2. ขาดการสื่อสารที่ดี

ปกติแล้วคนรักมักพูดจากันด้วยความอ่อนโยน เห็นอกเห็นใจกัน และให้เกียรติซึ่งกันและกัน แต่ในความสัมพันธ์ Toxic เรามักจะพบว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดการสื่อสารที่ดี คำพูดที่พูดกับคนรักจะเป็นไปในเชิงลบ เต็มไปด้วยการดูถูกเสียดสี ถากถาง หรือ ประชดประชัน

.

3. รู้สึกอิจฉาในความสำเร็จของอีกฝ่าย

คนเราอาจเกิดความรู้สึกอิจฉาเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นได้ ความรู้สึกนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับคนในครอบครัว เพื่อน หรือ แม้แต่คนรัก แต่ในความสัมพันธ์ หากปล่อยให้ความอิจฉาริษยากัดกินหัวใจเราไปเรื่อย ๆ ความคิดเชิงบวกที่มีต่อความสำเร็จของคู่รักจะค่อย ๆ ลดลง กลับกลายเป็นความรู้สึกเชิงลบเข้ามาแทนที่ และนำไปสู่ปัญหาในความสัมพันธ์

.

4. ชอบควบคุมพฤติกรรมของอีกฝ่าย

คนรักที่ทำตัว Toxic มักมีพฤติกรรมชอบควบคุม เช่น โทรตามตลอดเวลาว่าเราอยู่ที่ไหน ทำอะไร หรืออยู่กับใคร บางครั้งพวกเขาอาจรู้สึกโมโหและรำคาญหากเราไม่รับโทรศัพท์หรือไม่ตอบข้อความทันที นำไปสู่การทะเลาะกันเพราะความหึงหวง ความไม่ไว้ใจ กลายเป็นความสัมพันธ์ Toxic ในที่สุด

.

5. รู้สึกคับข้องใจ แต่เลือกที่จะไม่หาทางออกร่วมกัน

หากมีความรู้สึกคับข้องใจหรือไม่พอใจในความสัมพันธ์ แต่เลือกที่จะไม่พูดออกมา ไม่คุยกัน ไม่ลองปรับความเข้าใจกัน ความไม่พอใจที่สะสมอยู่นั้นก็จะค่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์

.

6. ความไม่ซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์ต่อกันเป็นสิ่งสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ ในความสัมพันธ์ หากแฟนของเราหาทางโกหกหรือปิดบังเราอยู่ตลอดเวลา แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ความสัมพันธ์ครั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ซื่อสัตย์ ทางที่ดีควรพูดคุยเพื่อปรับความเข้าใจกันก่อน สร้างข้อตกลงกันว่าการโกหกและไม่เชื่อใจกันจะไม่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์นี้ เนื่องจากความไม่ซื่อสัตย์อาจนำไปสู่ปัญหารุนแรงอื่น ๆ ได้ในอนาคต

.

7. ละเลยความต้องการของคนรัก

ความรักที่ดีควรแบ่งปันและได้รับอย่างเท่าเทียม แต่หากนานวันคนรักยิ่งละเลยความต้องการของเรา ไม่สนใจหรือใส่ใจในสิ่งที่เราพูดหรือแสดงออก นั่นถือเป็นอีกสัญญาณเตือนของความสัมพันธ์ที่ Toxic เช่นกัน

Toxic Relationship วิธีแก้ทำอย่างไร

ชวนเช็ก 7 สัญญาณความสัมพันธ์ Toxic ที่ไม่ควรไปต่อ3

หากรู้ตัวแล้วว่าเรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ Toxic การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ที่เป็นพิษนั้นต้องใช้เวลาและความอดทน  เนื่องจากคู่รักที่พบปัญหานี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สั่งสมมายาวนานและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ทำให้ความรู้สึกด้านลบที่ตกตะกอนในความสัมพันธ์สะสมจนกลายเป็นพิษในที่สุด

.

ดังนั้น หากต้องการแก้ไขและก้าวต่อไปในความสัมพันธ์ครั้งนี้ อาจลองนำแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้กับชีวิตคู่เพื่อปรับในความสัมพันธ์ได้

.

1. ยอมรับและเข้าใจปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น

หากเราและคนรักตระหนักว่า ความสัมพันธ์กำลังเป็นพิษ สิ่งแรกที่ควรทำคือการยอมรับและทำความเข้าใจปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ถือเป็นก้าวแรกของการแก้ปัญหา

.

2. ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา

เมื่อทั้งคู่ยอมรับและเข้าใจปัญหาในความสัมพันธ์แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การให้ความสำคัญและเต็มใจที่จะแก้ไขปัญหา Toxic Relationship วิธีแก้ข้อนี้คือการมอบเวลาคุณภาพให้แก่กัน เช่น การสละเวลาเพื่อสนทนาอย่างลึกซึ้ง ใช้เวลาที่ดีร่วมกัน ลองปรับตัว และค่อย ๆ แก้ปัญหาไปด้วยกัน

.

3. เปลี่ยนคำติเป็นความเข้าใจ

เปลี่ยนคำกล่าวโทษกันและกันให้กลายเป็นการทำความเข้าใจและยอมรับในตัวตนหรือความผิดพลาดของอีกฝ่าย นำไปสู่การเรียนรู้และอาจทำให้เราพบหนทางที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ครั้งนี้ไปรอดได้

.

4. อย่าปิดกั้นความช่วยเหลือจากภายนอก

แม้ความรักจะเป็นเรื่องส่วนตัวของคนสองคน แต่เมื่อเกิดปัญหาความสัมพันธ์ Toxic อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัว หรือ ผู้เชี่ยวชาญ อย่าง นักเพศวิทยา ที่พร้อมให้คำปรึกษาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

5. อย่าจมอยู่กับอดีต

แน่นอนว่าส่วนหนึ่งของการปรับความสัมพันธ์คงต้องมีการพูดถึงเรื่องราวในอดีตอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่านำอดีตแย่ ๆ มาเป็นจุดโฟกัสเพียงอย่างเดียวในความสัมพันธ์ที่จะยาวนานต่อไปในอนาคต การขุดคุ้ยอดีตมาพูดอยู่ตลอดอาจทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิด และทำให้ความสัมพันธ์แย่กว่าเดิม

.

6. มีความเห็นอกเห็นใจ

หากรู้สึกว่าแฟนทำตัว Toxic อาจต้องลองถอยออกมาสักก้าวและพิจารณาว่าที่เขาทำพฤติกรรมเหล่านั้นมีสาเหตุหรือไม่ การทำแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะส่งเสริมให้เขาทำพฤติกรรมแย่ ๆ ต่อไป แต่จะช่วยให้เราเข้าใจที่มาที่ไปของพฤติกรรมเหล่านั้นได้ดีขึ้น

.

7. ฝึกการสื่อสารที่ดี

เอาใจใส่คำพูดที่สื่อสารกัน หลีกเลี่ยงการพูดจาเสียดสี ประชดประชัน ลองใช้เทคนิคเริ่มต้นประโยคด้วยคำแทนตัวเราเอง เช่น แทนที่จะบอกว่า “คุณไม่ฟังฉันเลย” ให้ลองใช้คำว่า “ฉันรู้สึกไม่ดีเวลาที่เห็นคุณเล่นมือถือระหว่างที่ฉันกำลังพูดอยู่ เพราะทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่ฉันพูดไม่สำคัญ” บอกกล่าวความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่โทษอีกฝ่าย และสื่อสารกันอย่างเข้าใจ คืออีกก้าวของการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ Toxic Relationship

.

ความสัมพันธ์ Toxic ส่งผลอย่างไรบ้าง

การตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่ Toxic เป็นพิษส่งผลต่อสุขภาพจิตหลายอย่าง เช่น เกิดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล มีปัญหานอนไม่หลับ เกิดโรคเครียด

.

นอกจากนี้อาจทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา อย่างเช่น การรับรู้ลดต่ำลง มีความเสี่ยงโรคหัวใจ รวมถึงภูมิคุ้มกันลดลง นอกจากนี้ หากคนรักมีพฤติกรรม Toxic รุนแรงอาจถึงขั้นใช้กำลังด้วย

.

จะก้าวออกออกจากความสัมพันธ์ Toxic ยังไง

แม้เราสามารถแก้ไขความสัมพันธ์ Toxic ได้ แต่เมื่อประเมินแล้วว่าความสัมพันธ์นี้อาจมาถึงทางตันและถึงเวลาที่ควรก้าวออกมาเพื่อรักตัวเอง สามารถทำได้โดยใช้แนวทางต่อไปนี้

1. ปรึกษานักเพศวิทยา

หากความสัมพันธ์ Toxic มีความรุนแรงและมีแนวโน้มการใช้กำลัง การปรึกษาและขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างนักบำบัดหรือหน่วยงานที่ดูแลด้านความรุนแรงในครอบครัวก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อให้เราก้าวออกจากความสัมพันธ์นี้อย่างปลอดภัยที่สุด

.

2. เปิดใจ ไม่ปิดกั้น

ครอบครัวและเพื่อนช่วยสนับสนุนเราได้เสมอ ดังนั้นพยายามเปิดใจ อย่าปิดกั้นคนรอบตัว แต่ลองให้พวกเขามีส่วนร่วมเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการช่วยขนย้ายของออกจากบ้านแฟน หรือลองใช้เวลากับพวกเขาให้มากขึ้น เป็นต้น

.

3. พาเพื่อนมาด้วย

หากเรารู้สึกไม่กล้าหรือยังไม่เข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับคนรักเพื่อยุติความสัมพันธ์ การพาเพื่อนไปด้วยจะช่วยทำให้รู้สึกปลอดภัยและมั่นใจขึ้น นอกจากนี้เพื่อนของเรายังมีส่วนช่วยย้ำเตือนจุดยืนให้เราไม่ไขว้เขวต่อการตัดสินใจเลิกราอีกด้วย

.

4. เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ หรือถ้าไม่สามารถเปลี่ยนเบอร์ได้ อาจใช้วิธีบล็อคหมายเลขของคนรักและบัญชีโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อที่เราจะได้ไม่รู้สึกอยากตอบกลับหากพวกเขาติดต่อมา

.

5. ดูแลและกลับมารักตัวเอง

การออกจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดและส่งผลต่อสุขภาพจิตของเรา ดังนั้นกลับมาดูแลตัวเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ ค่อย ๆ ใช้เวลาอยู่กับตัวเองและเยียวยาหัวใจให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง

.

ความสัมพันธ์ Toxic เป็นสิ่งที่บั่นทอนความรู้สึกทั้งของเราและคนรัก แต่หากรู้สึกว่าความรักยังไปต่อได้อาจนำวิธีแก้ที่เราแนะนำไปปรับใช้ แต่หากความสัมพันธ์มีแนวโน้มใช้ความรุนแรงหรือมาถึงจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ การก้าวออกจากความสัมพันธ์ที่ Toxic อาจเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับตัวเราเอง

.

ความสัมพันธ์ Toxic แก้อย่างไร ปรึกษา Talk To PEACH

ปรึกษาเรื่องเพศแบบไม่ระบุตัวตน ได้ที่แอปฯ Talk to PEACH
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา

สามารถปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์ได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/ASRzP4b

.

อ้างอิง:

ความสัมพันธ์