04 ธันวาคม 2024
ฮอร์โมนผิดปกติ หรือ ฮอร์โมนแปรปรวน ที่มักได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ เป็นยังไงกันแน่ Talk to PEACH ชวนทำความเข้าใจถึงภาวะฮอร์โมนผิดปกติ สาเหตุ อาการ และการรับมือกับอาการฮอร์โมนผิดปกติ วิธีแก้ควรทำยังไง มาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
.
ฮอร์โมนเป็นสารเคมีตามธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อควบคุมสมดุลและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย อย่าง ฮอร์โมนไทรอยด์ ก็จะควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ ดูแลเรื่องการเผาผลาญของร่างกาย หรือ อย่างฮอร์โมนเพศก็จะควบคุมอวัยวะสืบพันธุ์และการลักษณะทางกายภาพตามเพศ เช่น ผิวพรรณเปล่งปลั่ง กล้ามเนื้อที่แข็งแรง การมีประจำเดือน การผลิตสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เป็นต้น อันเป็นลักษณะของการเป็นหนุ่มเป็นสาวหรือภาวะเจริญพันธุ์
.
ในสภาวะที่ร่างกายปกติฮอร์โมนต่าง ๆ จะทำงานกันอย่างสมดุล แต่เมื่ออายุที่เพิ่มขึ้นความเสื่อมของร่างกายก็ลดลงตามวัย รวมถึงสมดุลฮอร์โมนต่าง ๆ ก็จะลดน้อยลงตาม อาจเกิดภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง โดยอาการที่แสดงออกมาขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ฮอร์โมนนั้น ๆ ควบคุม
.
ยกตัวอย่าง หากเป็นฮอร์โมนเพศผิดปกติหรือไม่สมดุล ก็จะแสดงออกผ่านลักษณะทางกายภาพที่เริ่มคล้ายวัยทอง ความเป็นหนุ่มเป็นสาวแบบวัยเจริญพันธุ์เริ่มถดถอยลง ซึ่งความผิดปกติของฮอร์โมนเพศนี่แหละที่ทำให้ร่างกายของเราถดถอยได้ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
.
ก่อนที่จะพูดถึงอาการผิดปกติของฮอร์โมนโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศนั้น เราจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงบทบาทของฮอร์โมนในสภาวะปกติกันก่อน
ร่างกายของเพศหญิงจะสร้างฮอร์โมนเพศที่สำคัญคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน FSH และ LH
.
.
.
.
.
อาการแสดงจากฮอร์โมนไม่สมดุล ผู้หญิงมักจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
.
.
อาการแสดงเมื่อฮอร์โมนเพศผิดปกติในผู้ชายมักจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
.
.
.
.
ถ้าฮอร์โมนต่ำเกินไปจะตั้งครรภ์ได้อยากขึ้นอาจจะมีภาวะมีบุตรยาก และอาจจะเสี่ยงทำให้แท้งบุตรได้ แต่หากมีฮอร์โมนสูงเกินไปก็จะทำให้อารมณ์แปรปรวน นอนหลับยาก ขนาดเต้านมใหญ่ขึ้น เจ็บคัดบริเวณเต้านม และบางรายอาจจะมีภาวะซึมเศร้าได้
.
หากฮอร์โมน ต่ำ เพศหญิง อาการแสดงมักจะเข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก เพราะผลิตไข่ได้น้อย จนไม่สามารถมีบุตรได้ และอาจมีปัญหาเกี่ยวโยงไปถึงต่อมใต้สมอง ซึ่งจะกระทบกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่หากมีฮอร์โมนมากเกินไปจะกลายเป็นคนหมดประจำเดือนเร็ว รังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร เสี่ยงเกิดเนื้องอกรังไข่ และเสี่ยงมีบุตรยากเช่นกัน
.
หากมีฮอร์โมนสูงหรือต่ำเกินไปรังไข่จะทำงานผิดปกติ ไข่ไม่ตก และรังไข่หยุดการทำงานก่อนวัยอันควร และอาจจะมีผลกระทบไปถึงต่อมใต้สมองและฮอร์โมนอื่น ๆ ในร่างกาย
.
ลักษณะกายภาพความเป็นชาย ความแข็งแรงกำยำจะลดลง กล้ามเนื้อหดลีบ อารมณ์แปรปรวน อารมณ์ทางเพศลดลง ขนตามร่างกายจะลดน้อย และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แต่ถ้าฮอร์โมนมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดภาวะศีรษะล้าน ผมร่วง ผิวมัน และเป็นสิวผิดปกติ
.
เกิดภาวะผิดปกติกับอัณฑะและอสุจิ อาจจะมีอัณฑะเล็ก และไม่สามารถผลิตน้ำอสุจิออกมาได้ อาจทำให้มีบุตรยาก หรือถึงขั้นเป็นหมันไม่สามารถมีบุตรได้เลย และอาจจะมีผลกระทบไปถึงต่อมใต้สมองและฮอร์โมนอื่น ๆ ในร่างกาย
.
มีอาการเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนวัยอันควร ประจำเดือนมาไม่ปกติ อารมณ์ทางเพศลดลง หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือมีอาการแสดงผิดปกติอื่น ๆ ดังได้กล่าวไปในตอนต้นติดต่อกันนานหลายเดือน รวมไปถึงไม่สามารถตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติได้ภายใน 1 ปี
.
.
ทางออกของภาวะฮอร์โมนผิดปกติ วิธีแก้นั้นมีหลายวิธี ดังนี้
.
.
หากยังไม่ดีขึ้นอาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนและอาจจะต้องพิจารณาได้รับยาฮอร์โมนทดแทนภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด
.
หากมีข้อกังวลใจเกี่ยวกับภาวะฮอร์โมนผิดปกติ หรือ สงสัยว่าตัวเองจะมีฮอร์โมนผิดปกติ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญส่วนตัวแบบไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัว ตอบและวิเคราะห์ปัญหาแบบเฉพาะบุคคล มั่นใจแก้ไขได้ตรงจุดกับเราได้ที่: https://oci.ltd/koax0Z2
อ้างอิง:
ปัญหาเพศชาย
ปัญหาเพศหญิง