02 พฤศจิกายน 2023
ภาวะก่อนมีประจำเดือนหรือที่เรียกว่าอาการ PMS ส่งผลให้ผู้หญิงรู้สึกไม่สบายตัว อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย บวมน้ำ น้ำหนักตัวขึ้น กลายเป็นวันที่ใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้น บทความนี้มาทำความรู้จักอาการ PMS ก่อนมีประจำเดือนและเตรียมตัวรับมือกันดีกว่า
กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หรือ อาการ PMS (Premenstrual Syndrome) มักพบในผู้หญิงอายุ 20 – 40 ปี มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่รู้สึกไม่สบายตัวเหมือนว่าจะป่วยและหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ โดยมีอาการที่ว่านี้ช่วงก่อนมีประจำเดือนประมาณ 5 – 11 วัน แล้วอาการจะดีขึ้นจนหายได้เองหลังจากประจำเดือนมาแล้ว 4 – 7 วัน
ในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของอาการ PMS ที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศและยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนี้
ช่วงเวลาไข่ตกในแต่ละรอบเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จากนั้นอาการ PMS จะหายไปเมื่อไม่มีการตกไข่ ตั้งครรภ์ หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
ระดับฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ลดต่ำลง มีส่วนกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก่อนมีประจำเดือนได้
ตัวอย่างอาการอื่น ๆ เช่น เคยได้รับการกระทบกระเทือนทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง มีพฤติกรรมเสี่ยงที่กระตุ้นให้อาการ PMS รุนแรงขึ้น เช่น กินอาหารรสจัดหรืออาหารแปรรูป พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด รวมทั้งคนในครอบครัวมีประวัติอาการ PMS หรือมีภาวะผิดปกติทางอารมณ์
ผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการ PMS และความรุนแรงแตกต่างกัน อีกทั้งอาการที่ปรากฏในแต่ละเดือนก็อาจไม่ซ้ำกันได้เช่นกัน โดยจะแสดงอาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม ดังนี้
รู้สึกปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ เจ็บเต้านม สิวขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสียหรือท้องผูก เป็นต้น
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เครียด ไม่มีสมาธิ เศร้าหรือร้องไห้กับเรื่องเล็ก ๆ ได้ง่าย นอนไม่หลับ อยากอาหารมากกว่าปกติ และอาจมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม
ทั้งนี้อาการ PMS โดยทั่วไปนั้นไม่ได้มีความรุนแรงและไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แต่อาจมีอาการรุนแรงที่เรียกว่า Premenstrual Dysphoric Disorder หรือ PMDD ได้ ซึ่งมีผลต่ออาการทางอารมณ์อย่างเช่น ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง และอาจถึงขั้นมีความคิดฆ่าตัวตายจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างอีกด้วย
กรณีที่ผู้หญิงไม่มีอาการ PMS อย่างรุนแรง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ แต่หากมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาด้วยยาหรือใช้วิธีการอื่น แต่ควรใช้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติดูแลตัวเอง ดังนี้
อาการต่าง ๆ ก่อนมีประจำเดือนที่เรียกว่า “อาการ PMS” อาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยจนทำให้ผู้หญิงอย่างเรารู้สึกเคยชิน แต่ถ้าส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แม้ว่าจะดูเหมือนไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ก็ควรหมั่นสังเกตตนเองเพื่อเตรียมหาวิธีรับมือได้ทันนั่นเอง
หากมีปัญหาสุขภาพเพศ สามารถพูดคุยได้ทั้งผ่านวิดีโอคอล และแชทถาม-ตอบผ่านแอป Talk to PEACH หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/8kNnZ
บทความที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง:
Highlight
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศทางกาย