17 กันยายน 2024
มะเร็งปากมดลูก คือ โรคร้ายที่เกิดขึ้นในอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง เป็นมะเร็งพบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุต้น ๆ ที่ทำให้เพศหญิงจำนวนมากเสียชีวิตลง
.
บทความนี้ Talk to PEACH ชวนเช็กสัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก พร้อมดูว่ามะเร็งปากมดลูกมีอาการอย่างไร มะเร็งปากมดลูกมีกี่ระยะ และควรเริ่มตรวจมะเร็งปากมดลูกเมื่อไหร่? เพราะหากยิ่งรู้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสในรักษาให้หายได้มากขึ้นเท่านั้น
โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการได้ด้วยตัวเอง จากภาวะผิดปกติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น การมีประจำเดือนมามากผิดปกติ การมีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน หรือมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
.
นอกจากนี้ ยังมีอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น มีตกขาวในปริมาณที่มากผิดปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือ มีเลือดปนออกมา อาการปวดหน่วงที่ท้องน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือ มีอาการเจ็บหลังจากมีเพศสัมพันธ์
มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุที่สำคัญเกิดจากเชื้อ HPV ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เซลล์ที่อยู่บริเวณปากมดลูกเกิดการกลายพันธุ์เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
.
โดยในระยะแรกมะเร็งปากมดลูกอาจไม่ได้มีการแสดงอาการผิดปกติ แต่เมื่อเป็นหนักขึ้นร่างกายก็จะเริ่มแสดงอาการออกมา โดยความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงของโรคนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม รูปแบบการใช้ชีวิต และกรรมพันธุ์
ผู้ที่มีอาการเสี่ยงหรือสัญญาณเตือนเป็นมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่มักเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิต รวมถึงการรับเชื้อ HPV
ทั้งนี้ อาจรวมถึงผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ หรือ ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ และการสูบบุหรี่ ก็ถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
จากข้อมูลทางการแพทย์ที่ได้ระบุเอาไว้ว่าหากรอยโรคเข้าสู่ระยะที่เป็นมะเร็งปากมดลูก อาการของโรคก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะดังนี้
ในระยะที่ 1 หรือระยะเริ่มแรกเซลล์มะเร็งจะอยู่ภายในปากมดลูกเท่านั้น สำหรับอาการในระยะแรกนี้ ต้องบอกว่าแทบจะไม่มีอาการแสดงออกมาเลย อาจจะมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือ มีเลือดปน
ในระยะนี้จะเป็นระยะที่มะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังส่วนบนของช่องคลอด หรือ เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก แต่ยังไม่ลุกลามไปถึงผนังอุ้งเชิงกราน ก็จะมีการแสดงอาการคล้าย ๆ กับระยะเริ่มแรกแต่ชัดเจนมากขึ้น มีการปวดท้องน้อย หรือ ปวดหลังล่าง
ในระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งแพร่กระจายไปยังผนังอุ้งเชิงกราน และกดทับทางเดินปัสสาวะทำให้มีปัญหาในการปัสสาวะด้วย
ในระยะที่ 4 มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ ก่อนที่จะแพร่ออกไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลจากปากมดลูก เช่น ปอด ตับ หรือ กระดูก ส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมีอาการที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะนั้น ๆ
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่มักจะเป็นเพศหญิงที่อยู่ในช่วงวัย 30 – 55 ปี จะมีความเสี่ยงมาในคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เพราะอาจจะได้รับเชื้อ HPV มาจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งเราสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีน HPV ให้ครบโดสทั้ง 3 เข็ม และควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ในส่วนของผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกสามารถเข้ารับการรักษาโรคนี้ได้โดยขึ้นอยู่กับระยะ หากตรวจพบได้เร็วก็ยิ่งมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการผ่าตัด หากมะเร็งเข้าสู่ระยะกลางแล้วก็อาจจะต้องใช้วิธีการฉายรังสี ร่วมกับยาเคมีบำบัดซึ่งได้ผลการรักษาดีพอสมควร แต่ถ้าเป็นมะเร็งในระยะสุดท้ายก็อาจทำได้เพียงแค่ประคับประคองอาการ และบำบัดความเจ็บปวดของผู้ป่วยเท่านั้น ผลการรักษาอาจไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นยิ่งตรวจพบได้เร็วผู้ป่วยก็ยิ่งมีโอกาสที่จะหายได้ค่อนข้างสูง
การตรวจวินิจโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้โดยการไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจภายใน และหากพบรอยโรคที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูก แพทย์ก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อในตำแหน่งนั้นไปเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ
เมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจพบและวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก อาหารที่ควรจะต้องหลีกเลี่ยงในทันที คือ อาหารประเภทที่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง เช่น อาหารประเภทปิ้งย่างหรือทอด อาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาล เพราะอาหารเหล่านี้จะเข้าไปเป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตได้ดี
.
นอกเหนือจากนี้ ผู้ป่วยควรหยุดการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ หันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
มะเร็งปากมดลูก ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ และมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV ก่อให้เกิดการติดเชื้อในอวัยะเพศของหญิงและชาย โดยการติดเชื้อ HPV จะพบบ่อยที่สุดในเพศหญิงอายุ 18-23 ปี หรือ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว มะเร็งปากมดลูกจึงไม่ถือเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินชีวิต และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากกว่า
.
แต่ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายจากยีนส์ในกรรมพันธุ์ ถือว่ามีความเสี่ยงสูง ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิต และดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ
ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกจะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 120,000 บาท ขึ้นไป
มะเร็งปากมดลูกเมื่อเป็นและได้รับการรักษาจนหายแล้วยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของมะเร็งในครั้งแรก รวมไปถึงประสิทธิภาพในการรักษา และการดูแลตัวเองของผู้ป่วยด้วย
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มีการแนะนำให้สามารถเริ่มตรวจได้ในหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป หรือ ตรวจได้ตั้งแต่มีเพศสัมพันธ์ แนะนำให้ตรวจทุก 2-3 ปี
ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงในการติดเชื้อ และยังอาจทำให้เกิดการส่งต่อเชื้อ HPV ไปสู่คู่นอนได้
.
ใครที่กังวลหรือยังคงมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก และเชื้อ HPV สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk to PEACH: https://oci.ltd/RHfdq59
อ้างอิง:
ปัญหาเพศหญิง
สุขภาพเพศทางกาย